Page 178 - kpi20542
P. 178

การบริหารเมืองภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนของเทศบาลเมืองกระบี่นั้นได้รับการเชิดชู
            “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                  ผลงานมาตรฐาน ในปี 2560 จากรางวัลพระปกเกล้าในด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมี

                  ส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งควรได้รับการถอดบทเรียนเพราะเป็นมาตรฐานที่สำคัญในการบริหาร
                  เมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันถึงแนวคิดที่เทศบาลเมืองกระบี่สร้างคุณค่า
                  และความสำเร็จที่เกิดขึ้นผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งโครงการที่โดดเด่นของเทศบาลเมือง

                  กระบี่ คือ

                  อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือนเฝ้าระวังภัยในเขตเทศบาลเมืองกระบี่

                        จุดเริ่มต้น

                        จากการพัฒนายุทธศาสตร์เมือง
                  ปลอดภัย (Safety City) และยุทธศาสตร์

                  เมืองแห่งการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ (Quality
                  Tourist Destination City) ประกอบกับ

                  สภาพการเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญในชายฝั่ง
                  อันดามัน มีนักท่องเที่ยวเข้ามาตั้งถิ่นฐานและ
                  ท่องเที่ยวหมุนเวียนตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้เอง

                  จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทางเทศบาลเมืองกระบี่
                  ริเริ่มและลงทุนสร้างเมืองให้เกิดความ

                  ปลอดภัยและสงบเรียบร้อยเพื่อส่งเสริม
                  การท่องเที่ยวและสร้างมูลค่าให้นักท่องเที่ยว
            กรณีศึกษา: ด้านสาธารณภัย   ปลอดภัยจากการแวะมากระบี่หรือพักอาศัยทั้งแบบชั่วคราวและถาวร โดยแนวคิดสำคัญที่อยู่
                  เกิดความประทับใจในความอบอุ่น ความ


                  เบื้องหลังโครงการดังกล่าว คือ การใช้พลังของ “อาสาสมัคร” ในพื้นที่มาเป็นแรงขับเคลื่อนด้วย

                  การจัดตั้งศูนย์ อปพร. เทศบาลเมืองกระบี่ ขึ้นใน ปี พ.ศ. 2552 ทั้งนี้ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย
                  พลเรือน (อปพร.) เป็นลักษณะกลุ่มอาสาสมัครส่วนราชการที่ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  สามารถดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติ

                  ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2550 สังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย
                  จากแนวคิดที่ต้องการให้มีภาคประชาชนช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการ

                  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามแนวคิดการบริหารจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยภาคประชาชน
                  ในพื้นที่ให้เป็นคนดูแลจัดการตนเอง ซึ่งแนวคิดดังกล่าวก็สอดคล้องกับนโยบายของเมืองที่ว่า
                  “หากเมืองกระบี่เปรียบเสมือนบ้านแล้ว ไม่มีใครจะดูแลบ้านได้ดีเท่ากับคนในบ้าน”






                1 2   สถาบันพระปกเกล้า
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183