Page 173 - kpi20542
P. 173
รวดเร็วในการช่วยเหลือ ป้องกันและคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับมาเป็นปกติมากที่สุด โดยกำหนด
ให้เครือข่ายต้องร่วมกันแบ่งปันข้อมูลภาพนิ่ง เสียง วิดีโอที่สามารถดึงข้อมูลไปมาระหว่างกันได้
อย่างรวดเร็วและลดขั้นตอนด้านเอกสารมากที่สุด ทั้งนี้ บุคลากรของเครือข่ายจะมีความสัมพันธ์
อันดี เข้าใจบทบาทการทำงานซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ แต่ละเครือข่ายมีหน้าที่จัดเตรียมอุปกรณ์
ช่วยเหลือที่สำคัญในแต่ละสถานการณ์เมื่อเกิดเหตุภัยในแต่ละวัน รับผิดชอบค่าตอบแทน
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมค่าบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้แก่บุคลากรสังกัดตนเอง
เครือข่ายรองในโครงการดังกล่าว ได้แก่
๏ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สำนักงานสาธารณสุขสงขลา “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา
๏ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ทำหน้าที่ให้ปรึกษากับบุคลากร
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาทางด้านข้อมูลการแพทย์ การรักษา
เบื้องต้น
๏ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา จัดหาเจ้าหน้าที่ตำรวจมาประจำที่ศูนย์ฯ
ประจำ 2 ช่วง คือเช้าและเย็น ตลอด 24 ชั่วโมง รับผิดชอบในการดูแล
ทรัพย์สินร่วมกับบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา คือ รถตู้
พร้อมติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดส่งผ่านระบบไร้สายความเร็วสูง
พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ผลสำเร็จ
ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ
พบว่าปัญหาอาชญากรรม อุบัติเหตุ และปัญหาการจราจรในพื้นที่ลดลง เพราะเจ้าหน้าที่ กรณีศึกษา: ด้านสาธารณภัย
ของแต่ละเครือข่ายสามารถช่วยเหลือชีวิตทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งเข้าไปคลี่คลาย
สถานการณ์ความวุ่นวายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่มี
ความคมชัดสามารถปรับย่อขยายได้ สามารถนำไปสู่เบาะแสสำคัญในการปิดคดีต่างๆ ในพื้นที่
กล่าวได้ว่าโครงการดังกล่าวตอบโจทย์เรื่องความเป็นเมืองน่าอยู่ สังคมเป็นสุข ได้อย่างชัดเจน
ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาและภาคีเครือข่ายให้บริการสาธารณะที่มีคุณค่าด้าน
ความมั่นคง ปลอดภัยในคุณภาพชีวิตได้อย่างยอดเยี่ยม หัวใจสำคัญและคุณค่าของโครงการ
ดังกล่าว คือ ความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายที่เป็นพลังเพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์เรื่องประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลการทำงานร่วมกันได้อย่างดี เนื่องจากการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
สถาบันพระปกเกล้า 1