Page 169 - kpi20542
P. 169
2. สร้างห้องปฏิบัติการหรือ
“ศูนย์ควบคุมระบบโทรทัศน์วงจรปิด
อบจ.สงขลา” กำหนดให้มีห้องปฏิบัติ
การดังกล่าวเพื่อดูแลภารกิจความมั่นคง
และปลอดภัยอยู่ที่อาคารศรีเกียรติพัฒน์
ภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
มีการเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
19 มกราคม 2559 ภายใต้การดูแลของ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พื้นที่
เดียวกับศูนย์ของโครงการพัฒนาระบบ
การแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา “หนึ่งตำบล หนึ่งกู้ชีพ” ถึงแม้จะแยกห้องปฏิบัติการของศูนย์ฯ
แต่เนื่องจากอยู่ในชั้นเดียวกันทำให้เจ้าหน้าที่ของทั้งสองห้องสามารถนำส่งข้อมูลซึ่งกันและกันได้
อย่างสะดวกและรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ที่ประจำศูนย์หลักแห่งนี้สังกัดกองช่างขององค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสงขลา ทำงานร่วมกับบุคลากรจากเครือข่ายในโครงการฯ ได้แก่ เจ้าหน้าที่จาก
กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สำนักงาน
สาธารณสุขสงขลา
3. การออกระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกับ
ภาคีเครือข่าย ได้แก่ จัดทำบันทึกการทำความตกลงร่วมมือกันจัดทำบริการสาธารณะ การออก
ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การขอเข้าดูข้อมูลและสำเนาข้อมูลภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
(CCTV) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา การออกประกาศ เรื่อง การมอบอำนาจผู้ลงนาม
การอนุญาตการขอเข้าและสำเนาข้อมูลภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เป็นต้น มีสาระ
สำคัญในการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ
บทบาทหน้าที่ของเครือข่าย กรณีศึกษา: ด้านสาธารณภัย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานหลัก
การวางแผนการดำเนินงาน ขอความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุม การออกกฎระเบียบเพื่อ
อำนวยความสะดวกให้โครงการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและสามารถตอบโจทย์เรื่องความมั่นคง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ โดยมีแบ่งการดำเนินงานด้านเครือข่าย ดังนี้
เครือข่ายหลัก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
การจัดซื้อและติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ประจำพื้นที่ขององค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสงขลา
สถาบันพระปกเกล้า 1