Page 168 - kpi20542
P. 168
และทันเหตุการณ์ มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างระบบการควบคุมดูแลภาพรวมของเมืองที่จะสามารถ
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ช่วยเหลือประชาชนและบริหารจัดการสถานการณ์ในภาวะวิกฤติได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งป้องกัน
และวางแผนปัญหาด้านความมั่นคงในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาในอนาคตที่อาจ
ส่งผลต่อความเสี่ยงจากกรณีที่มีเหตุบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ส่งผลกระทบความมั่งคงในพื้นที่
กระบวนการดำเนินงาน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาดำเนินโครงการภายใต้ความร่วมมือกับเครือข่ายโดยช่วง
แรกจะเป็นการผลักดันการขับเคลื่อนโครงการจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาเป็นหลัก และ
ขอความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายมาร่วมดำเนินการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจัดประชุมหารือร่วมกับเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อหารือและชี้แจงเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ประกอบด้วยองค์การบริหารส่งจังหวัดสงขลา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา 14 แห่ง (เทศบาลในจังหวัดสงขลาจำนวน
13 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง) สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่ฝ่าย
ความมั่นคง และสำนักงานบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา โดยเครือข่ายแต่ละส่วนจะประชุม
กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยโดยคำนึงถึงพื้นที่เมืองเศรษฐกิจ สถิติการเกิดอุบัติเหตุ สถิติการเกิด
อาชญากรรม ทั้งนี้เพื่อดำเนินการติดตั้งกล้อง CCTV (Closed-circuit television) ตามจุดที่ตกลง
ร่วมกันและเห็นว่าเหมาะสม หลังจากนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจึงนำมาสู่การพิจารณา
อีกครั้งเพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดทำงบประมาณ การจัดหาครุภัณฑ์ และการสนับสนุนด้านอื่นๆ
โดยมีการใช้บันทึกข้อตกลง (MOU) เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย
งบประมาณในโครงการดังกล่าว จำนวน 3,575,000 บาท
กรณีศึกษา: ด้านสาธารณภัย
1 2 สถาบันพระปกเกล้า