Page 158 - kpi20542
P. 158
ตำรวจภูธร ปิดกั้นเส้นทาง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อน เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ใหญ่จะแจ้งไปยัง
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ศูนย์สั่งการในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่สุดเพื่อส่งรถฉุกเฉินพร้อมเจ้าหน้าที่ไปยังจุดเกิดเหตุให้ได้ภายใน
8-10 นาที ซึ่งการมีหน่วยที่ครอบคลุมพื้นที่ภายในจังหวัดสงขลา ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้สามารถ
เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว เมื่อสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว มีการปฐมพยาบาล
ที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและลดความพิการ หากเป็นกรณีเร่งด่วนจะประสาน
ตำรวจจราจรเพื่ออำนวยความสะดวกให้รถพยาบาลวิ่ง ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ก็จะประสานกับ
โรงพยาบาลปลายทางเพื่อรอรับผู้ป่วยพร้อมแจ้งรายละเอียดอาการเบื้องต้นให้กับทางโรงพยาบาล
ทราบ รวมทั้งประสานงานกับบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ในกรณีที่เป็น
อุบัติเหตุทางท้องถนน เพื่อให้ผู้ป่วยทราบสิทธิในการรักษา รวมทั้งประกันภัยของตน
ภาพศูนย์ประสานงานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา
นอกจากการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพและ
ได้มาตรฐานแล้ว อบจ.สงขลายังเล็งเห็นถึงความสำคัญของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระบบ
กรณีศึกษา: ด้านสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และวิทยาลัย
การแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินกับ
การสาธารณสุขจังหวัดยะลา เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการพัฒนางานวิชาการ
และมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งนำมาสู่การจัดทำหลักสูตรการพัฒนาและ
เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้แก่บุคลากร จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่
1) หลักสูตรการปฐมพยาบาลและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน (Emergency Medical
Responder : EMR) เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงาน
ของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยเผชิญเหตุระดับตำบลให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะ
ในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีระยะเวลาการอบรม 40 ชั่วโมง 2) หลักสูตรการปฏิบัติ
การแพทย์ขั้นพื้นฐานและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง (Emergency Medical Technician :
EMT) เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะของบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
1 2 สถาบันพระปกเกล้า