Page 161 - kpi20542
P. 161
ผลการดำเนินงาน
ภายหลังจากการดำเนินโครงการ พบว่าประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและ
เท่าเทียม โดยในปัจจุบันมีหน่วยปฏิบัติการ (Emergency Operation Division) ประกอบด้วย
โรงพยาบาล 21 หน่วย มูลนิธิและสมาคมกู้ชีพ 15 หน่วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 116 หน่วย
ครอบคลุมทุกอำเภอ มียานพาหนะฉุกเฉินระดับ ALS 21 คัน ระดับ BLS 13 คัน และระดับ FR
117 คัน จากการมีหน่วยบริการที่ครอบคลุมทั่วพื้นที่ทำให้ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินสามารถเข้าถึงเหตุ
ได้อย่างรวดเร็วซึ่งจากสถิติพบว่าตั้งแต่ปีพ.ศ.2553 สามารถเข้าถึงเหตุได้ภายใน 10 นาที มีจำนวน
เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปีพ.ศ.2559 จังหวัดสงขลามีสัดส่วนร้อยละผู้ป่วยวิกฤติที่ได้รับการปฏิบัติการ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ฉุกเฉิน ภายใน 10 นาทีสูงที่สุดในประเทศ มีจำนวนการปฏิบัติการทั้งหมด 22,914 ครั้ง แม้จะ
พบว่ามีจำนวนอุบัติเหตุมากขึ้น แต่อีกด้านหมายถึงประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของศูนย์ฯ
มากขึ้น ส่งผลให้มีอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง การดำเนินโครงการพัฒนา
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินยังเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของแพทย์อย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมา
ทำได้เพียงการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ปลายทางที่โรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อมีการบูรณาการ
การทำงานในลักษณะของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลาทำให้แพทย์ปลายทางสามารถ
รับรู้ข้อมูลของผู้ป่วย รวมถึงอาการของผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์ (Real Time) ส่งผลให้การวินิจฉัย
เบื้องต้นและการวางแผนการรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ยังสามารถลดอัตรา
การเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้นอีกด้วย
ภาพผลการปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา: ด้านสาธารณสุข
สถาบันพระปกเกล้า 1