Page 162 - kpi20542
P. 162
ปัญหาและอุปสรรค
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
1. ความขัดแย้งระหว่างมูลนิธิ สมาคม กู้ชีพกู้ภัย ซึ่งในระหว่างที่ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล
หนึ่งกู้ชีพ ซึ่งมีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ และชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน แน่นอนว่าต้องมี
ความขัดแย้งกับกู้ชีพกู้ภัยที่เป็นเจ้าของพื้นที่เดิม แต่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาก็ได้มี
การพูดคุยและทำความเข้าใจ อีกทั้ง การจัดหลักสูตรฝึกอบรม ก็เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยง
บูรณาการให้เข้ามาดำเนินการร่วมกัน
2. การผลัดเปลี่ยนบุคลากรอยู่สม่ำเสมอ บุคลากรในหน่วยปฏิบัติการมีการผลัดเปลี่ยน
หมุนเวียนกันตลอดเวลา ซึ่งบุคลากรมีทั้งที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และจิตอาสาที่เข้ามาทำโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน เมื่อมีงานที่ดีและมั่นคงกว่าก็จะลาออกไป ซึ่งการ
ผลัดเปลี่ยนบุคลากรตลอดเวลานี้ได้ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการอบรม
ปัจจัยความสำเร็จ
1. ความเข้มแข็งของผู้นำ กล่าวคือ นายกฯ มีความแน่วแน่ที่จะพัฒนาระบบการแพทย์
ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ที่ริเริ่มที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาดำเนิน
การในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยนายกฯ ได้เข้าไปเป็นคณะกรรมการตัวแทนองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในคณะกรรมการแพทย์ฉุกเฉิน จึงได้เรียนรู้งานด้านการแพทย์ฉุกเฉินมากขึ้น นำมาสู่
การก่อตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลาที่มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง
ยังมีการวางระบบการดำเนินการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ
ได้มาตรฐาน
กรณีศึกษา: ด้านสาธารณสุข มีหน่วยงานเครือข่ายมากมายที่เข้ามาร่วมดำเนินการ อาทิ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
2. การทำงานร่วมกับเครือข่าย จากการดำเนินโครงการจะเห็นได้ว่า อบจ.สงจลา
ที่สนับสนุนการดำเนินการเรื่องระบบการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล
หาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยการสาธารณสุขจังหวัดยะลา ที่เข้ามา
สนับสนุนการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน นำมาสู่การพัฒนาหลักสูตรอบรมบุคลากร และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา ที่มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมในการแบ่งหน้าที่
ความรับผิดชอบในการดำเนินการเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน
3. การบูรณาการภายในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลามีการ
บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ CCTV ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ซึ่งทำให้การทำงานของ
ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงเหตุได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้
สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตและลดโอกาสการพิการได้ ซึ่งปัจจุบันจังหวัดสงขลาสามารถเข้าถึง
เหตุได้อย่างรวดเร็วภายในในระยะเวลา 8-10 นาที
1 สถาบันพระปกเกล้า