Page 156 - kpi20542
P. 156

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาได้เตรียมความพร้อมที่จะดำเนินการเรื่องระบบ
            “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
                  การแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

                  (MOU) การดำเนินงานและบริการจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับ
                  เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล มูลนิธิ สมาคมในจังหวัดสงขลา เพื่อแบ่งขอบเขตหน้าที่ของ
                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา โดยอบจ.สงขลามีหน้าที่เป็นศูนย์บริหารจัดการ

                  การแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ดำเนินการและบริหารจัดการศูนย์รับแจ้งเหตุ สั่งการ
                  จังหวัด จัดหารถพยาบาลฉุกเฉิน พร้อมครุภัณฑ์ทางการแพทย์และระบบสื่อสารสารสนเทศ

                  พัฒนาศักยภาพบุคลากร ฝึกอบรม จัดประชุม ส่วนเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล มูลนิธิ
                  สมาคมในจังหวัดสงขลามีหน้าที่กำกับการปฏิบัติงานของพนักงานกู้ชีพประจำรถปฏิบัติการฉุกเฉิน
                  และจัดอัตรากำลังให้ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ จัดชุดปฏิบัติการ

                  ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายของ
                  ผู้ปฏิบัติงาน น้ำมันเชื้อเพลิง และการซ้อมบำรุงรักษารถพยาบาล สรุปและรายงานผลการปฏิบัติ

                  งานการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง และดำเนินการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

                        นอกจากการจัดทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว อบจ.สงขลายังได้มีการเตรียมความพร้อม

                  ในการดำเนินการเรื่องระบบการแพทย์ฉุกเฉินด้วยการส่งบุคลากรไปเรียนรู้เรื่องศูนย์ประสาน
                  งานการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน หลังจากนั้น
                  จึงได้ถอดบทเรียนวิธีการทำงาน ภายในศูนย์ประสานงานการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อที่จะเตรียมความ

                  พร้อมในการเปิดศูนย์บริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ซึ่งในการดำเนินการ
                  จัดตั้งศูนย์ฯ ของท้องถิ่นนี้ ท่านนายกฯ ได้มีแนวคิดที่ต่อยอดจากศูนย์ฯ ของโรงพยาบาลหาดใหญ่

                  โดยผู้ให้สัมภาษณ์ได้กล่าวว่า
            กรณีศึกษา: ด้านสาธารณสุข   หาดใหญ่ทำเราจะทำทำไม น่าจะต่อยอดอะไรได้มากกว่านี้ ประกอบกับที่ท่าน

                              “การทำศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินถ้าทำแล้วเหมือนกับศูนย์ฯ ที่โรงพยาบาล



                        นายกฯ ได้เห็นการดำเนินการเรื่อง one number one stop service ของประเทศ

                        ญี่ปุ่นเลยมีแนวคิดว่าเราเองก็น่าจะสามารถทำได้ โดยคาดหวังว่าศูนย์ฯ จะสามารถ
                        เป็น one number one stop services ได้”




                        องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาพัฒนาโครงการระบบการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับเครือข่าย
                  จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา 1669 ซึ่งบูรณาการการดำเนินงานใน 3 ศูนย์

                  ประกอบด้วย 1) ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา โดยใช้หมายเลข





                1 0   สถาบันพระปกเกล้า
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161