Page 155 - kpi20542
P. 155
ความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยว
ให้ปลอดภัย ประกอบกับสถิติอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยฉุกเฉินของจังหวัดสงขลาที่มีอัตราเพิ่ม
สูงขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดสงขลามีคุณภาพชีวิตที่ดี องค์การบริหารส่วนจังหวัด
สงขลาจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเมื่อยาม
เกิดเหตุฉุกเฉิน จึงริเริ่มโครงการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน “หนึ่งตำบล หนึ่งกู้ชีพ” ซึ่งเป็น
โครงการที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างทั่วถึง
และเท่าเทียม โดยได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์
วัตถุประสงค์ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างถูกต้อง
รวดเร็วและปลอดภัย ลดอัตราการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่
จังหวัดสงขลา เพื่อจัดหารถพยาบาลพร้อมครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้บริการครบทุกตำบล และ
เพื่อบูรณาการงานการแพทย์ฉุกเฉินกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
กระบวนการดำเนินงาน
การดำเนินการด้านการแพทย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาได้มีการริเริ่มตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2548 ซึ่งในขณะนั้นได้ดำเนินการจัดซื้อรถพยาบาลพร้อมครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อให้เป็น
รถพยาบาลประจำหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของ
ประชาชน โดยสนับสนุนรถฉุกเฉินและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในจังหวัดสงขลา หลังจากนั้นก็ได้มีการเชิญองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อบจ.สงขลาสนับสนุน
รถพยาบาลพร้อมครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้เข้ามาทำความเข้าใจในเรื่องระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
ร่วมกัน โดยมีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเข้ามากำกับดูแลการดำเนินเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน
ในระยะแรกที่เริ่มดำเนินโครงการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาสนับสนุนรถพยาบาลทั้งหมด
25 คัน และค่อยๆ เพิ่มขึ้นในทุกปี จนถึงปัจจุบันได้สนับสนุนรถพยาบาลพร้อมครุภัณฑ์ทาง กรณีศึกษา: ด้านสาธารณสุข
การแพทย์ถึง 118 คัน การดำเนินการเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินเริ่มมีความจริงจังมากขึ้นภายหลัง
ที่นายกนิพนธ์ บุญญามณี เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มีการจัด
ประชุมสัมมนา “ปูทางท้องถิ่นไทยเข้าสู่ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน” ระหว่างองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อพูดคุยถึงทิศทางการดำเนินการระบบการให้บริการทางสาธารณสุข และ
มีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานเรื่องระบบการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
สถาบันพระปกเกล้า 1