Page 51 - kpi19910
P. 51

41






                      ลงทุนค่าชดเชยทรัพย์สินสูง ท าให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ด้วยเหตุนี้กรม
                      ชลประทาน จึงพิจารณาการใช้ประโยชน์จากน้ าที่ปล่อยจากท้ายเขื่อนรัชชประภา อ าเภอบ้านตาขุน

                      จังหวัดสุราษฏร์ธานี และเป็นที่มาของการศึกษาทบทวนความเหมาะสม โดยพิจารณาการพัฒนา
                      ชลประทานสูบน้ าจากแม่น้ าพุมดวง เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 73,980 ไร่  โดยผลการศึกษาที่
                      ออกมีความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เป็นการบริหารจัดการน้ า
                      หลังจากการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนรัชชประภา มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร        ด้วยพื้นฐาน

                      ที่ว่าเขื่อนรัชชประภา ได้ปล่อยน้ าจากท้ายเขื่อนเนื่องจากการผลิตกระแสไฟฟ้า 3,000 ล้านลูกบาศก์
                      เมตรต่อปี และมีปริมาณน้ าจากคลองสาขาไหลมารวมในแม่น้ าพุมดวง  2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
                      ท าให้มีปริมาณน้ าไหลผ่านแม่น้ าพุมดวง 5,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีที่เป็นการไหลลงสู่ทะเล โดยไม่

                      มีการน ามาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด
                               ต่อมา เมื่อปี  2549 กรมชลประทาน โดยส านักงานก่อสร้าง 10 ส านักโครงการขนาดใหญ่
                      เริ่มจัดการประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อชี้แจงท าความเข้าใจใน
                      เบื้องต้น และรับทราบปัญหาตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของ
                      ประชาชน จากนั้น ปี 2550 กรมชลประทานได้ขออนุมัติเปิด "โครงการพัฒนาลุ่มน้ าตาปี-พุมดวง"

                      พร้อมทั้งได้ด าเนินการจัดการประชุมเพื่อชี้แจงท าความเข้าใจส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และรับทราบ
                      ปัญหาของราษฎรที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านการจัดหาที่ดินใน
                      พื้นที่จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ครม.มีมติอนุมัติให้กรมชลประทานด าเนินการโครงการ

                      ชลประทานขนาดใหญ่ 4 โครงการ รวมถึงโครงการพัฒนาลุ่มน้ าตาปี-พุมดวง โดยก าหนดแผนงาน
                      ก่อสร้างรวม 8 ปี (2552-2559) ใช้งบประมาณทั้งหมดรวมค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สินแล้ว 3,300
                      ล้านบาท อย่างไรก็ตามเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ าตาปี-พุมดวง ยังคัดค้านโครงการดังกล่าวยังไม่มีการ
                      การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ส าคัญคือ ผลกระทบจากการขาดแคลนน้ าจืดไปเลี้ยงระบบ

                      นิเวศชายฝั่งโดยเฉพาะในฤดูแล้ง อาจจะท าให้น้ าเค็มรุกล้ าพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลกระทบต่อระบบ
                      ประปาของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และลุกลามไปถึงปัญหาขาดแคลนน้ าจืด ซึ่งน้ าเสียจะเข้ามา
                      แทนที่ ส่งผลกระทบต่อการประมงเพาะเลี้ยงชายฝั่ง


                      คู่ขัดแย้งหลักและจุดยืน :
                               1. ชาวบ้านไม่ต้องการให้โครงการพัฒนาลุ่มน้ าตาปี–พุมดวง พื้นที่นาถูกเปลี่ยนเป็นสวนยาง
                      ลักษณะการใช้น้ าต่างกัน ดังนั้น ชาวบ้านไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ า

                               2. กรมชลประทานระบุการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ าไม่เพียงพอ

                      ผู้เกี่ยวข้องอื่น :
                               1. ประธานที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์

                               2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                               3. เครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ าตาปี-พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                               4. ส านักงานก่อสร้าง 10 ส านักโครงการขนาดใหญ่
                               5. องค์การบริหารส่วนต าบลศรีวิชัย

                               6. กรมที่ดิน
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56