Page 47 - kpi19910
P. 47
37
กรณีศึกษาโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐจังหวัดสุราษฎร์ธานี
6. คัดค้านโรงไฟฟ้าพลังน้ าจากเขื่อนรัชชประภา
พื้นที่ : อ าเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประเภทความขัดแย้ง : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พลังงาน)
ระดับการรับรู้ของสังคม : ระดับชาติ มีการเผยแพร่ผ่านสื่อมากมาย ทั้งสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ผ่าน
งานวิจัย
ประเด็นขัดแย้ง :
ชาวบ้านกลุ่มคัดค้านไม่ต้องการโรงไฟฟ้าพลังน้ าจากเขื่อนรัชชประภา มาจากการได้รับ
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องชัดเจน เมื่อเขื่อนสร้างเสร็จชาวบ้านจะไม่ได้รับค่าชดเชยใด ๆ จึงท าให้เกิดการ
ต่อต้านอย่างรุนแรง
ความเป็นมา :
เขื่อนรัชชประภา เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ าขนาดใหญ่ในภาคใต้ เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นล า
น้ าคลองแสงที่บ้านเชี่ยวหลาน ต าบลเขาพัง อ าเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขื่อนหินถม
แกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง
อ่างเก็บน้ ามีความจุ 5,639 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ า 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ าไหล
เข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 3,057 ล้านลูกบาศก์เมตร โรงไฟฟ้าตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ า เป็นอาคารคอนกรีต
เสริมเหล็ก ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จ านวน 3 เครื่อง รวมก าลังการผลิต
240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ลานไกไฟฟ้าตั้งอยู่บน
ฝั่งซ้ายของแม่น้ า ห่างจากโรงไฟฟ้า ประมาณ 100 เมตร ท าหน้าที่ส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าด้วย
สายส่งไฟฟ้าขนาด 230 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 50 กิโลเมตร
และขนาด 115 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงพังงา ระยะทาง 82 กิโลเมตร เขื่อนรัชชประ
ภา เริ่มด าเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2530
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชด าเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ า เมื่อวันพุธที่
30 กันยายน 2530
ในการด าเนินการโครงการเขื่อนรัชชประภา ในระยะแรกนั้นราษฎรได้ให้ความร่วมมือกับ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพราะประชาชนให้ความส าคัญกับเรื่องสภาพความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของ
ราษฎร แต่เมื่อทราบว่าเป็นการส ารวจข้อมูลเพื่อการก่อสร้างเขื่อน ประชาชนก็มีปฏิกิริยาต่อต้านและ
ในขณะนั้นในพื้นที่จังหวัดภาคใต้มีการเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อยู่ในพื้นที่ จึงท าให้มี
การปลุกปั่นท าให้ประชาชนรวมกลุ่มกันต่อต้าน แต่เมื่อได้ท าการส ารวจพบว่า ประชาชนในหมู่บ้าน ตา
ขุนมีทั้งกลุ่มที่ท าการคัดค้าน เป็นกลาง และกลุ่มให้การสนับสนุน ประชาชนกลุ่มต่อต้านการสร้างเขื่อน
รัชชประภาคิดว่าเมื่อสร้างเขื่อนเสร็จจะไม่ได้รับความช่วยเหลือใด ๆ เช่น ค่าทดแทน ค่าอพยพจากรัฐ
และจากการแทรกแซงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในระหว่างการก่อสร้างขั้นเตรียมการ คือ การสร้าง