Page 49 - kpi19910
P. 49
39
พลวัต :
ชาวบ้านกลุ่มคัดค้านไม่ต้องการโรงไฟฟ้าพลังน้ าจากเขื่อนรัชชประภา มาจากการได้รับ
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องชัดเจน เมื่อเขื่อนสร้างเสร็จชาวบ้านจะไม่ได้รับค่าชดเชยใด ๆ จึงท าให้เกิดการ
ต่อต้านอย่างรุนแรง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยท าการประชาสัมพันธ์การด าเนินโครงการ
และการเยียวยาต่าง ๆ ต่อประชาชน
ระดับความรุนแรง : มีความเสียหายต่อทรัพย์สิน
วิธีการแก้ไข :
กลยุทธ์ของการจัดการความขัดแย้งเพื่อแก้ไขปัญหา คือ
1. จัดเวทีให้ความคิดเห็นแก่ชาวบ้านและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด าเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลโรงไฟฟ้าพลังน้ าจาก
เขื่อนรัชชประภาเป็นระยะที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การวิจัย-รับฟังความ
คิดเห็น 2) การวางแผนและการตัดสินใจ 3) การติดต่อสื่อสาร และ 4) การประเมินผล
3. การเยียวให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ สิ่งที่ส าคัญคือ ความมั่นใจว่าเมื่อโครงการ
เกิดขึ้นแล้ว การดูแลให้การเยียวยายังได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ได้ด าเนินการประชาสัมพันธ์
ปัจจัยที่จะสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง คือ
1. การมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักร่วมกันเพื่อรับรู้การด าเนินโครงการ
2. การพูดคุย เจรจา สื่อสารข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบที่เกิดขึ้น :
ผลกระทบทางจิตใจอาจไม่ได้รับการดูแล เยียวยาชดเชยในสิ่งที่สูญเสีย ต้องการความ
เชื่อมั่นว่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์
ที่มาของข้อมูล :
1. สัมภาษณ์ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่
2. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร “การช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้างเขื่อนเชี่ยวหลาน” เมื่อวันที่ 16
ตุลาคม 2559 จาก https://www.seub.or.th/seub
3. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย “ความเป็นมาเขื่อนรัชชประภา” สืบค้นเมื่อ 20
พฤศจิกายน 2561 จาก
http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2759&Itemid
=117