Page 222 - kpi19903
P. 222
189
1) ค่าสถิติเชิงบรรยายของร้อยละประชากรที่นับถือศาสนาต่างๆ ในแต่ละเขตเลือกตั้ง
2) ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละประชากรที่นับถือศาสนาต่างๆ กับผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
3) ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละประชากรที่นับถือศาสนาต่างๆ กับพฤติกรรมการเลือกตั้ง และ
4) ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละประชากรที่นับถือศาสนาต่างๆ กับผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
12.2.1 ค่าสถิติเชิงบรรยายของร้อยละประชากรที่นับถือศาสนาต่างๆ ในแต่ละเขตเลือกตั้ง
ค่าเฉลี่ยของร้อยละของประชากรที่นับถือศาสนาพุทธในแต่ละเขตเลือกตั้งคือร้อยละ 94.3 ยกเว้น
ภาคใต้บางจังหวัด เช่น นราธิวาส ศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ตอนล่าง มีค่าเฉลี่ยของร้อยละของ
ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธเพียงร้อยละ 5 และในบางเขตเลือกตั้งใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีร้อยละของ
ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธเป็นร้อยละ 0 เช่นเดียวกันกับที่บางเขตเลือกตั้งของของกรุงเทพมหานครที่มีร้อย
ละของประชากรผู้นับถือศาสนาอิสลามค่อนข้างสูงมาก
ค่าเฉลี่ยร้อยละของประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามในแต่ละเขตเลือกตั้งทั่วประเทศมีค่าเท่ากับร้อยละ
5.10 ส่วนค่าเฉลี่ยร้อยละของประชากรที่นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ มีไม่ถึงร้อยละ 1 ดังรูปที่ 12.2
และประชากรที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นๆ ส่วนใหญ่จะพบมากในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร
เมืองอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออก เช่น ระยอง และเมืองท่องเที่ยวทางภาคใต้เช่น ภูเก็ต กระบี่ เป็นต้น
ดังต่อไปนี้
ตำรำงที่ 12.5 สถิติเชิงบรรยายของการนับถือศาสนากับผลการเลือกตั้งในระดับพื้นที่
M SD Min Max
ร้อยละของผู้นับถือศาสนาพุทธ 94.30 16.50 0 100.00
ร้อยละของผู้นับถือศาสนาอิสลาม 5.10 16.46 0 100.00
ร้อยละของผู้นับถือศาสนาคริสต์ 0.51 1.96 0 28.08
ร้อยละของผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ 0.09 1.17 0 21.80