Page 217 - kpi19903
P. 217

184



               อิสลามมากน่าจะมีแนวโน้มที่จะเลือก ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในอีกด้านหนึ่งหากน าอิทธิพลของความ
               เป็นภูมิภาคนิยม กล่าวคือประชาชนในภาคใต้นิยมพรรคประชาธิปัตย์ที่ถึงขั้นส่งเสาไฟฟ้าลงเลือกตั้งในนาม

               พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังได้เป็น ส.ส. นั้น การนับถือศาสนาอิสลามของประชากรในเขตพื้นที่อาจจะไม่มี

               ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลและพฤติกรรมการเลือกตั้งเลยก็เป็นได้ เพื่อที่จะทดสอบค าถามน าการวิจัยนี้
               วิธีการวิเคราะห์ที่ง่ายที่สุดคือการวิเคราะห์แยกชั้นภูมิ (Stratified analysis) โดยเมื่อแยกเฉพาะเขตเลือกตั้งใน

               ภาคใต้มาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละของประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามในแต่ละเขตเลือกตั้งกับ

               ร้อยละที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์แล้วยังจะมีความสัมพันธ์ทางบวกเช่นเมื่อวิเคราะห์รวมทั้งประเทศหรือไม่ การ
               แยกวิเคราะห์เฉพาะภาคใต้เป็นการควบคุมตัวแปรภูมิภาคนิยมให้เหลือแต่เพียงภาคใต้เพียงภาคเดียวซึ่งน่าจะ

               ช่วยให้ตอบค าถามนี้ได้ชัดเจนมากขึ้น

                       ปัจจัยประชากรจึงเป็นตัวแปรหนึ่งที่จะน ามาศึกษาถึงความสัมพันธ์กับผลการเลือกตั้ง ปี 2554 และ
               ข้อมูลประชากรมาจากการส ารวจสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม (Social Economic Status: SES)



               12.1 เพศและอำยุกับผลกำรเลือกตั้งในระดับพื้นที่


                       การวิเคราะห์ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
                       1) ค่าสถิติเชิงบรรยายของร้อยละเพศของประชากรและค่าเฉลี่ยอายุในแต่ละเขตเลือกตั้ง

                       2) ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละเพศของประชากรและค่าเฉลี่ยอายุกับผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต

                       3) ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละเพศของประชากรและค่าเฉลี่ยอายุกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง และ
                       4) ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละเพศของประชากรและค่าเฉลี่ยอายุกับผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

               ดังนี้


                       12.1.1 ค่าสถิติเชิงบรรยายของร้อยละเพศของประชากรและค่าเฉลี่ยอายุในแต่ละเขตเลือกตั้ง

                       ค่าสถิติเชิงบรรยายของร้อยละเพศของประชากรและค่าเฉลี่ยอายุในแต่ละเขตเลือกตั้งแสดงในตาราง

               ที่ 12.1 พบว่า พิสัยของค่าเฉลี่ยอายุในแต่ละเขตเลือกตั้งมีค่าค่อนข้างกว้าง 26.01 ปี แสดงให้เห็นว่าในบางเขต
               เลือกตั้งประชากรมีอายุเฉลี่ยสูงและบางเขตมีอายุเฉลี่ยต่ ากว่ากันมาก ในขณะที่พิสัยของร้อยละของประชากร

               เพศชายและเพศหญิงมีค่าเท่ากับ 10.59% และ 10.59% แสดงให้เห็นว่าปัญหาเพศของประชากรไม่สมดุลของ

               ไทยไม่น่าจะรุนแรงมากนัก ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยของร้อยละเพศของประชากรมีความใกล้เคียงกันมาก และเมื่อ
               พิจารณาแผนที่ความร้อนพบว่าร้อยละของประชากรเพศชายจะมีค่าสูงกว่าประชากรหญิงบริเวณขอบชายแดน

               ของประเทศ







               ตำรำงที่ 12.1 สถิติเชิงบรรยายของร้อยละเพศของประชากรและค่าเฉลี่ยอายุในแต่ละเขตเลือกตั้ง
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222