Page 213 - kpi19903
P. 213

180



               ตำรำงที่ 11.2 จ านวน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่าง
                            อายุและพฤติกรรมการเลือกตั้งในระดับบุคคล

                  ระบบเลือกตั้ง          พรรคกำรเมือง               N      M       SD  F-test  p-value
                                  พรรคประชาธิปัตย์                 425    49.8  13.9  1.45         .235
                    แบ่งเขต       พรรคเพื่อไทย                     603    49.7  14.1
                                  พรรคอื่น ๆ                       430    51.1  15.0

                                  พรรคประชาธิปัตย์                 427    49.3  13.75  2.09        .124
                   บัญชีรายชื่อ   พรรคเพื่อไทย                     608    50.0  14.02
                                  พรรคอื่น ๆ                       426    51.3  15.10


               11.3 ศำสนำกับพฤติกรรมกำรเลือกตั้งในระดับบุคคล


                       การศึกษาในหัวข้อนี้จะมุ่งเน้นศึกษาและวิเคราะห์ความแตกต่างของพฤติกรรมการเลือกตั้งและศาสนา

               ของประชาชน โดยส่วนใหญ่ตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลนับถือศาสนาพุทธ (ประมาณร้อยละ 90) รองลงมา
               คือ นับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 9) และอื่น ๆ (ร้อยละ 1) โดยที่มีสัดส่วนของประชาชนที่จะลงคะแนนเลือก

               ผู้สมัครในระบบเขตและบัญชีรายชื่อนั้นไม่แตกต่างกันมาก

                       ผลการทดสอบด้วย Chi-square test of independence พบว่า ศาสนามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
               การเลือกตั้งในระดับบุคคลทั้งการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ (  =221.86 & 211.47
                                                                                       2
                                                                                       4
               ตามล าดับ) ดังตารางที่ 11.3 โดยพบว่าประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธส่วนใหญ่เลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคเพื่อ

               ไทยทั้งในระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 45-46 และจะเลือกผู้สมัครจากพรรค
               ประชาธิปัตย์เพียงร้อยละ 24 เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ มักจะ

               เลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์ คิดเป็นร้อยละ 83-85 และจะเลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคเพื่อไทย

               เพียงร้อยละ 6 และเลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคอื่น ๆ เพียงร้อยละ 9 เท่านั้น
                       หากพิจารณาจากแผนภาพกระเบื้อง (Mosaic plot) ดังรูปที่ 11.2 พบว่าประชาชนที่นับถือศาสนา

               พุทธ มีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่น ๆ เลือกพรรคประชาธิปัตย์ค่อนข้างน้อย

               เมื่อเทียบกับคนไทยมุสลิม ในขณะที่ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามก็จะมีแนวโน้มเลือกผู้สมัครที่มาจาก
               พรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทย และพรรคอื่น ๆ อย่างมาก และมากกว่าคนไทยพุทธ

                       สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นที่น่าแปลกใจแต่อย่างใดเนื่องจากฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ คือ ภาคใต้

               ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามค่อนข้างมากท าให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาที่นับถือกับ
               พรรคการเมืองที่เลือกได้อย่างชัดเจน
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218