Page 215 - kpi19903
P. 215

182



               11.4 สรุปผลกำรศึกษำปัจจัยทำงประชำกรกับผลกำรเลือกตั้ง: กำรวิเครำะห์ระดับบุคคล


                       ปัจจัยทางประชากรกับพฤติกรรมการเลือกตั้งผู้สมัครจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ส าหรับการเลือกตั้งใน

               พ.ศ. 2554 พบว่า
                       1) เพศมีความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองที่เลือกทั้งในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ โดยที่

               เพศชายมีแนวโน้มจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่เพศหญิงมีแนวโน้มจะเลือกพรรคอื่นๆ

                       2) อายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
                       เพศถือเป็นปัจจัยที่ติดตัวและเป็นคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง (หรือ

               เปลี่ยนแปลงได้ยาก) ซึ่งในการลงคะแนนเลือกผู้สมัครในระบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อ ประชาชนประมาณ

               ร้อยละ 40 ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีแนวโน้มเลือกพรรคเพื่อไทยมากที่สุด แต่เมื่อพิจารณาในล าดับรองลงมา
               พบว่า 1 ใน 3 ของเพศชายมีแนวโน้มเลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคอื่น ๆ แต่ในเพศหญิง 1

               ใน 3 เช่นกันกลับมีแนวโน้มเลือกผู้สมัครจากกลุ่มพรรคอื่น ๆ มากกว่า

                       ในขณะที่อายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกตั้งนั้น อาจจะอธิบายได้ว่า การลงคะแนนเลือก
               ผู้สมัครฯ ทั้งในระบบแบ่งเขตหรือบัญชีรายชื่อ เป็นพฤติกรรมการเลือกที่มาจากความชื่นชอบหรือความเชื่อใน

               นโยบาย/พรรคการเมือง/หรือในตัวผู้สมัคร ในแต่ละบุคคล ความเชื่อเป็นคุณลักษณะเฉพาะที่ส่งผลก่อให้เกิด

               ทัศนคติที่ดีในพรรคหรือผู้สมัคร (Fishbein and Ajzen, 1975, Ajzen, 1991) ดังนั้น ไม่ว่าประชาชนจะอายุ
               เท่าใดหากประชาชนชื่นชอบหรือนิยมพรรคการเมืองใด พวกเขาจะมีความตั้งใจที่จะไปลงคะแนนให้พรรคที่เขา

               ชื่นชอบมากกว่า 3) ในการศึกษานี้พบว่า ประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ มีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครที่มาจาก

               พรรคเพื่อไทยและพรรคอื่น ๆ ในขณะที่ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามก็จะมีแนวโน้มเลือกผู้สมัครที่มาจาก
               พรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทย และพรรคอื่น ๆ เพราะฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในภาคใต้

               และภาคใต้มีประชาชนที่นับถืออิสลามค่อนข้างมาก
                       นอกเหนือจากปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ (ในบทที่ 7) และปัจจัยทางประชากร (ในบทนี้)

               การศึกษาควรลงศึกษาในรายละเอียดปัจจัยที่สามารถอธิบายการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์ได้ เช่น ทฤษฎีทาง

               พฤติกรรมศาสตร์ และทางจิตวิทยา (เช่นเดียวกับทฤษฎีในบทที่ 7 หัวข้อสรุปผลการศึกษาฯ) น่าจะสามารถ
               อธิบายพฤติกรรมเลือกตั้งของประชาชนอาจจะอธิบายได้ชัดเจนมากขึ้นจากการใช้ปัจจัยประชากรเพียงอย่าง

               เดียว
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220