Page 220 - kpi19903
P. 220

187



               ตำรำงที่ 12.2 ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละประชากรเพศชาย (หญิง) และค่าเฉลี่ยอายุกับผลการเลือกตั้งใน
                            ระดับพื้นที่ ในระบบแบ่งเขต

                                               ไม่พิจำรณำควำมสัมพันธ์เชิงพื้นที่   พิจำรณำควำมสัมพันธ์เชิงพื้นที่

                ผลกำรเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554
                                               เพื่อไทย   ประชาธิปัตย์   ภูมิใจไทย   ชาติไทยพัฒนา   เพื่อไทย   ประชาธิปัตย์   ภูมิใจไทย   ชาติไทยพัฒนา
                แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง



                ร้อยละของประชากรชาย          .10     -.21**    .17**    -.01    .07  -.09**  .06     -.02

                ร้อยละของประชากรหญิง         -.10    .21**    -.17**    .01     -.07  .09**  -.06    .02
                ค่าเฉลี่ยอายุ               .18**    -.16**     .01     .12*    -.01   -.03   .00    .09
                ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอายุ   .08    -.26**    .23**    .15**   .05    .03    .06    .04

               หมายเหตุ  ** :p<0.01, *p<0.05


                       12.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละเพศของประชากรและค่าเฉลี่ยอายุกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง

                       ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละเพศของประชากรและค่าเฉลี่ยอายุกับพฤติกรรมการ
               เลือกตั้งดังแสดงในตารางที่ 12.3 พบว่า

                       1) ร้อยละของประชากรหญิงในแต่ละเขตเลือกตั้งมีความสัมพันธ์ทางลบกับร้อยละที่ไม่มาใช้สิทธิ
               เลือกตั้งและร้อยละของบัตรเสียแต่สัมพันธ์ทางบวกกับร้อยละไม่ประสงค์จะลงคะแนน (r=-.16, -.13, & .28

               ตามล าดับ) แสดงว่าเขตเลือกตั้งที่มีร้อยละประชากรเพศหญิงมากมีแนวโน้มจะมาเลือกตั้งมากกว่า และไม่ท า
               บัตรเสีย แต่ใช้สิทธิ์แบบไม่ประสงค์ลงคะแนน ผลการศึกษานี้แตกต่างจากการศึกษาในอดีต (ถวิลวดี บุรีกุล,

               2544) ที่พบว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเพศหญิงจะต่ ากว่าเพศชาย ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าประเทศไทย
               ในปัจจุบันผู้หญิงเริ่มมีส่วนร่วมทางการเมืองและตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น ในการชุมนุมทางการเมืองต่างๆ มี

               ผู้หญิงเข้าร่วมมากกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด
                       2) ค่าเฉลี่ยอายุของประชากรในแต่ละเขตเลือกตั้งไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกตั้งไม่ว่าจะ

               เป็น Vote No หรือ No Vote หรือ ร้อยละของบัตรเสีย
                       3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอายุในแต่ละเขตเลือกตั้งกลับมีความสัมพันธ์ทางบวกกับร้อยละของ

               บัตรเสียและสัมพันธ์ทางลบกับร้อยละของผู้ที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน (r=.20 & -.32 ตามล าดับ) ซึ่งเป็นสิ่งที่
               น่าสนใจมาก เพราะส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นการวัดการกระจายของช่วงอายุแสดงให้เห็นว่าเขตเลือกตั้งที่มี

               การกระจายอายุของประชากรสูงมีแนวโน้มที่จะเกิดบัตรเสียได้ง่าย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยอายุของ
               ประชากรในแต่ละเขตเลือกตั้งกลับไม่มีความสัมพันธ์กันกับร้อยละของบัตรเสีย น่าจะมีความเป็นไปได้ว่า

               ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยอายุของประชากรในแต่ละเขตเลือกตั้งอาจจะไม่เป็นความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง
               (Linearity) อันเป็นฐานคติในการวิเคราะห์สหสัมพันธ์หรืออาจจะมีตัวแปรอื่นๆ แทรกซ้อนที่เรายังไม่ทราบอีก

               มากซึ่งควรจะได้ศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต นอกจากนี้เขตเลือกตั้งที่มีการกระจายของอายุประชากรสูงมี
               แนวโน้มที่จะมี Vote No น้อยกว่าซึ่งยังไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้ดีเท่าที่ควรว่าเป็นเพราะสาเหตุใดซึ่งน่าจะ

               มีการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225