Page 224 - kpi19903
P. 224
191
และบวกเป็นลบ (r= .14 & -.14 ตามล าดับ) แม้ว่าขนาดอิทธิพลจะลดลงไปแต่การที่เกิดการกลับทิศทางของ
ความสัมพันธ์นี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่ง
ความเป็นไปได้ประการหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้คือค่าสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ได้พิจารณาความเป็น
ภูมิภาคนิยมของผลการเลือกตั้งเข้าไปไว้ด้วยแล้วเช่นกัน โดยที่พื้นที่ใกล้กันจะได้รับน้ าหนักถ่วงเชิงพื้นที่
มากกว่าอันสะท้อนความเป็นภูมิภาคเดียวกันหรือภูมิภาคนิยมอยู่แล้วในตัวเอง ดังนั้นอาจจะเกิดภาวะ
suppressor variable หรือตัวแปรกดทับ อันสามารถเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ได้ หากไม่ได้พิจารณาให้
รอบคอบจะท าให้ไม่เห็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง (Tzelgov & Henik, 1991) ซึ่งพบได้บ่อยในงานวิจัยทาง
พฤติกรรมศาสตร์ (เช่น งานของ Ones & Viswesvaran, 1998; Ones, Viswesvaran, & Reiss, 1996)
ดังนั้น น่าจะมีความเป็นไปได้ที่เมื่อขจัดอิทธิพลของความเป็นภูมิภาคนิยมออกไปแล้ว ร้อยละของ
ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามน่าจะสัมพันธ์ทางลบกับร้อยละที่เลือก ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ หรืออีกนัย
หนึ่งฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์หาใช่พี่น้องประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามแต่อย่างใด การวิเคราะห์แยก
ชั้นภูมิ (Stratified analysis) โดยแบ่งวิเคราะห์เฉพาะภาคใต้ที่นิยมเลือกพรรคประชาธิปัตย์จะช่วยให้เห็น
ความสัมพันธ์ได้ชัดเจนมากขึ้นเพราะได้ขจัดอิทธิพลของความเป็นภูมิภาคนิยมออกไปแล้ว
ตำรำงที่ 12.6 ความสัมพันธ์ระหว่างการนับถือศาสนากับผลการเลือกตั้งในระดับพื้นที่ ในระบบแบ่งเขต
ไม่พิจำรณำควำมสัมพันธ์เชิงพื้นที่ พิจำรณำควำมสัมพันธ์เชิงพื้นที่
ผลกำรเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554
แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา
นับถือศาสนาพุทธ .36** -.22** .06 -.03 .01 .14** -.02 -.05
นับถือศาสนาอิสลาม -.37** .22** -.05 .03 -.01 -.14** .03 .06
นับถือศาสนาคริสต์ .05 .00 -.03 -.04 -.01 .02 -.01 -.05
นับถือศาสนาอื่น ๆ .02 .02 -.06 .02 .03 -.02 -.01 .00
หมายเหตุ ** :p<0.01, *p<0.05
เมื่อพิจารณาแผนภาพการกระจายดังรูปที่ 12.3 ด้านบนพบว่า เขตเลือกตั้งที่นับถือศาสนาอิสลาม ใน
จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา มีค่าร้อยละที่จะเลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ในระดับที่ต่ า และเขต
เลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตหนองจอก (BKK19) มีค่าร้อยละที่จะเลือกผู้สมัครจากพรรค
ประชาธิปัตย์ในระดับที่ต่ าเช่นกัน (เมื่อเปรียบเทียบกับเขตเลือกตั้งอื่นๆ ของกรุงเทพ) เราจึงวิเคราะห์แยกชั้น
ภูมิโดยเป็นสองชั้นภูมิคือ เขตเลือกตั้งทั่วประเทศยกเว้นภาคใต้ (รูปที่ 12.3 ด้านล่างซ้าย) และเขตเลือกตั้ง
เฉพาะในภาคใต้ (รูปที่ 12.3 ด้านล่างขวา)
ผลการวิเคราะห์ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละของประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามกับร้อยละที่เลือก ส.ส.
พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตเลือกตั้งทั่วประเทศที่ไม่รวมภาคใต้ และยิ่งท าให้เห็นชัดเจนว่าเขตเลือกตั้งที่ 19
กรุงเทพมหานคร (BKK19) ในรูปนั้นเป็นค่าสุดโต่งสองตัวแปร (Bivariate outlier) และหากจะแยกวิเคราะห์
เฉพาะเขตเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครอันเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ (ด้านบนของรูปที่ 12.3 ล่าง