Page 226 - kpi19903
P. 226

193



               กรุงเทพมหานครที่มีประชาชนนับถือศาสนาอิสลามมาก พรรคประชาธิปัตย์ก็มักจะแพ้เลือกตั้ง เช่น หนองจอก
               มีนบุรี คลองสามวา เป็นต้น

                       ดังนั้นหากขจัดอิทธิพลของภูมิภาคนิยม (คือภาคใต้) ออกไปแล้ว เขตเลือกตั้งที่ประชาชนที่นับถือ
               ศาสนาอิสลามมีแนวโน้มจะไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งปรากฏการณ์เดียวกันนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครที่

               เป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ด้วยเช่นกัน แม้ว่าความสัมพันธ์จะไม่ติดลบมากเท่าในภาคใต้ก็ตาม

                       12.2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละประชากรที่นับถือศาสนาต่างๆ กับพฤติกรรมการเลือกตั้ง

                       เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละประชากรที่นับถือศาสนาต่างๆ ในแต่ละเขตเลือกตั้งกับร้อยละ
               ของบัตรเสียโดยไม่พิจารณาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่แต่อย่างใดพบว่าไม่มีความสัมพันธ์เลย แต่เมื่อพิจารณา
               ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ด้วยพบว่าร้อยละของประชากรในเขตเลือกตั้งที่นับถือศาสนาพุทธ/อิสลาม มีความ

               สัมพันธทางลบ/บวกกับร้อยละของบัตรเสีย (r=-.12 & .13 ตามล าดับ) โปรดดูในตารางที่ 12.7 อันเป็น
               ลักษณะปัญหาของตัวแปรกดทับซึ่งน่าจะเกิดจากปัจจัยภูมิภาคนิยมด้วย (ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในหัวข้อ

               12.2.2)
                       การที่พื้นที่เขตเลือกตั้งที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากไม่เป็นสิ่งที่น่าแปลกประหลาดใจแต่
               ประการใดเนื่องจากพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากนัก ประชาชนไม่ได้ใช้

               ภาษาไทยเป็นภาษามารดา (Mother-tongue language) แต่ใช้ภาษายาวีเป็นหลัก ประชาชนในพื้นที่จังหวัด
               นราธิวาส ยะลา ปัตตานี นั่นน่าจะมีอุปสรรคในการอ่านบัตรเลือกตั้งหรือการอ่านค าสั่งในการกากบาทเลือกตั้ง

               ได้อย่างถูกต้องท าให้เกิดปัญหา
                       นอกจากนี้ร้อยละที่นับถือศาสนาอิสลามมีความสัมพันธ์ทางลบกับร้อยละของการไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
               เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์เชิงพื้น (r=-.10) ซึ่งน่าสนใจว่าเขตเลือกตั้งที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมีแนวโน้มที่จะ

               มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
                       การวิเคราะห์แผนภาพการกระจายของความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละที่นับถือศาสนาอิสลามกับร้อยละ
               ของบัตรเสียน่าจะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะเมื่อวิเคราะห์แยกเฉพาะเขตเลือกตั้งภาคใต้

               แล้วความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละที่นับถือศาสนาอิสลามกับร้อยละของบัตรเสียน่าจะสัมพันธ์กันทางบวกอย่าง
               ชัดเจนมากขึ้น
                       ผลการวิเคราะห์แผนภาพการกระจายแสดงในรูปที่ 12.4 ด้านบนซึ่งเราจะเห็นได้ว่าชายแดนตะวันตก

               อันได้แก่ ตาก (TAK) ชายแดนอีสานใต้ อันได้แก่ ศรีษะเกษ (SSK) พื้นที่กันดารและมีชนกลุ่มน้อยมาก เช่น เขต
               เลือกตั้งเชียงใหม่เขต 10 (CMI10) ซึ่งประกอบด้วย อ าเภอแม่แจ่ม (ยกเว้น ต าบลแม่นาจร) อ าเภอฮอด อ าเภอ

               ดอยเต่า และ อ าเภออมก๋อย เขตเลือกตั้งในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา (YLA) นราธิวาส (NWT)
               ปัตตานี (PTN) และสตูล (STN) มีร้อยละของบัตรเสียค่อนข้างสูง แต่ไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างร้อย
               ละที่นับถือศาสนาอิสลามกับร้อยละของบัตรเสียแต่อย่างใด ทั้งนี้เขตเลือกตั้งเหล่านี้เป็นพื้นที่ที่ประชากรไม่

               สันทัดในการใช้ภาษาไทยทั้งสิ้น เช่น ตาก น่าจะพูดภาษาพม่าหรือกะเหรี่ยง ศรีษะเกษน่าจะพูดภาษาส่วยหรือ
               ภาษาเขมร เขตเลือกตั้งเชียงใหม่ 10 น่าจะพูดภาษาชาวเขาอื่นๆ ส่วนสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นพูดภาษายาวี

               เป็นหลัก อันเป็นเหตุให้อ่านบัตรเลือกตั้งไม่เข้าใจและท าให้เกิดบัตรเสียมาก
   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231