Page 210 - kpi19903
P. 210

177



                         บทที่ 11 ปัจจัยทำงประชำกรกับผลกำรเลือกตั้ง: กำรวิเครำะห์ระดับบุคคล


                                                                   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
                                                                                                        35
                                                                                                        36
                                                                                       นายวศิน แก้วชาญค้า
                                                                                                        37
                                                                                      นายวีระวัฒน์ พิศฐาน

                       ในบทนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปัจจัยทางประชากรกับพฤติกรรมการเลือกตั้งในระดับบุคคล มุ่งเน้นการ
               หาค าตอบที่เกี่ยวกับรูปแบบหรือลักษณะพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิง

               พรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบาย บรรยาย และสรุปลักษณะของกลุ่มข้อมูลของผู้มีสิทธิ์

               ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในระดับ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานั้นได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลมาจากชุดข้อมูล
               (Dataset) การส ารวจความคิดเห็นของประชาชนจากแบบสอบถามเรื่อง “แบบสอบถามความคิดเห็นของ

               ประชาชนชาวไทยต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.

               2554 (ก่อนการเลือกตั้ง)” ที่ได้จากการส ารวจของสถาบันพระปกเกล้าใน พ.ศ. 2554 โดยมีตัวอย่างทั้งหมด
               1,500 คน

                       ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่มุ้งเน้นจะศึกษา ประกอบไปด้วย 1) เพศ 2) อายุ และ 3) ศาสนา มี

               รายละเอียดดังต่อไปนี้


               11.1 เพศกับผลกำรเลือกตั้งในระดับบุคคล


                       ความแตกต่างระหว่างเพศมักเป็นหัวข้อในการศึกษาที่งานวิจัยเชิงพฤติกรรม เนื่องจากเพศมักเป็นตัว

               แปรที่มีความส าคัญและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ และท าให้พฤติกรรมของมนุษย์แตกต่างกัน
               โดยที่ผู้ชายและผู้หญิงเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน อารมณ์ หรือการรับรู้ต่าง ๆ ของทั้งสองจะแตกต่างกัน

               และก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต่างกันออกไป เช่น พฤติกรรมการซื้อสินค้า การตัดสินใจใช้บริการ ที่ทั้งสองเพศมี

               ความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เป็นต้น ในการตลาดจึงมักแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer segmentation) อย่าง
               ง่ายด้วยเพศเป็นอันดับแรก เนื่องจากเป็นตัวแปรที่สามารถจ าแนกความแตกต่างของมนุษย์ได้ง่ายและชัดเจน

               มากที่สุด





               35  ผู้อ านวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล)

               อาจารย์ประจ าสาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒ

               นบริหารศาสตร์
               36  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล ศูนย์คลังปัญญาและสารสนเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

               37  วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย) คณะสถิติประยุกต์

               สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215