Page 99 - kpi19164
P. 99

13
                   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)
                       •  สถานการณ์การพัฒนา

                           ประเทศไทยได้เริ่มบุกเบิกงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504

                   เป็นเวลา 20 ปี โดยรัฐได้ก าหนดให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาเป็นระยะๆ ติดต่อกัน
                   มาถึง 4 แผน เพื่อใช้เป็นกรอบน าในการระดมและจัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจ ก าลังเงิน ก าลังคน

                   และระบบงานของรัฐมาท าการบูรณะ ขยายกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่จ าเป็นต่อการเสริมสร้างระบบการ

                   ผลิต การจ าหน่าย และความเป็นอยู่ของประชาชนจนท าให้ประเทศสามารถก้าวเข้ามาสู่สังคม
                   เศรษฐกิจที่มีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นโดยล าดับ เศรษฐกิจไทยได้ประสบผลส าเร็จในการขายและ

                   กระจายฐานก าลังผลิตแทบทุกสาขาไปอย่างกว้างขวาง ตลอดทั้งได้เร่งการส่งออกและเพิ่มการมีงาน

                   ท าขึ้นในอัตราที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาประเทศที่ก าลังพัฒนาด้วยกัน ทั้งหมดนี้นับว่าเป็น
                   พลังอันส าคัญที่ช่วยผลักดันระดับฐานะเศรษฐกิจไทยให้พ้นจากประเทศที่มีรายได้ต่ าเข้ามาอยู่ในกลุ่ม

                   ประเทศก าลังพัฒนาที่มี “รายได้ปานกลาง” ดังนั้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 จึงได้มีเป้าหมายใน

                   การปรับโครงสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจ และฟื้นฟูฐานะทางการเงินและแก้ไขปัญหาการ
                   ขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยไปสู่ “ประเทศกึ่งอุตสาหกรรม”

                           ดังนั้น การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 จึงได้ปรับแนวความคิดใน

                   การพัฒนาประเทศ “แนวใหม่” ซึ่งแตกต่างไปจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่แล้วๆ มา โดยถือว่าเป็น
                   “แผนนโยบาย” ที่มีความชัดเจนพอที่จะแปลงไปสู่ภาคปฏิบัติได้และมีลักษณะพิเศษ ดังนี้คือ

                           (1) เน้น “การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ” มากกว่า “การมุ่งขยายอัตราความเจริญทาง

                   เศรษฐกิจ” แต่อย่างเดียว เพราะมีความจ าเป็นจะต้องฟื้นฟูฐานะทางการเงินของประเทศที่ได้ใช้จ่าย
                   เกินตัว และแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าและการคลังของประเทศให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม โดย

                   ร่วมกันสร้างวินัยเศรษฐกิจในชาติเพื่อควบคุมรายจ่ายที่ไม่จ าเป็นและประหยัดการใช้พลังงานของ

                   ประเทศให้ลดลง ขณะเดียวกันจ าเป็นที่จะต้องเร่งการผลิตเพื่อส่งออกหารายได้เข้าประเทศให้มากขึ้น
                           (2) เน้น “ความสมดุล” ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมุ่งการกระจาย

                   รายได้และความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค สร้างความเป็นธรรมในสังคม และการกระจายการถือครอง

                   สินทรัพย์เศรษฐกิจให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะเน้นความสมดุลของการพัฒนาระหว่างสาขา







                   13  ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525 -
                   2529.





                                                            89
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104