Page 96 - kpi19164
P. 96

12
                   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)
                       •  สถานการณ์การพัฒนา

                           ผลสืบเนื่องจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนซบเซา ซึ่งได้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงของ

                   แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา จึงจัดได้ว่าปัญหาเร่งด่วนที่มีความส าคัญต่อ
                   การพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ในระยะแรกเป็นอย่างยิ่ง และหากรัฐบาลไม่

                   สามารถฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศให้กลับเข้าสู่ระดับที่ประเทศสามารถขยาย

                   ก าลังผลิตและการจ้างงานเพิ่มขึ้นแล้ว การแก้ปัญหาโครงสร้างระยะยาวทางเศรษฐกิจและสังคมของ
                   ประเทศหลายด้านอาจจะประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และอาจจะยังส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพ

                   ทางการเมืองของประเทศต่อไป การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ได้ผลนั้นจ าเป็นต้องเร่งสร้างฐานะและขีด

                   ความสามารถการผลิตในสาขาส าคัญคือด้านการเกษตรให้มั่นคง งานเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่รัฐจะต้อง
                   รีบด าเนินการและเกี่ยวข้องกับงานด้านสหกรณ์ ดังนี้

                           •  เร่งรัดปฏิรูปที่ดินเพื่อเป็นพื้นฐานที่ส าคัญต่อการพัฒนาการเกษตร โดยมุ่งปรับปรุงสิทธิ

                              การถือครองที่ดินส าหรับให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินท ากินเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินน้อยไม่

                              เพียงพอแก่การเพาะปลูก หรือผู้เช่าเข้าอยู่อาศัยท ากิน ในระยะต่อมาจะด าเนินการ
                              ปรับปรุงทรัพยากรการเกษตรและเพิ่มปัจจัยการผลิตควบคู่กับการให้บริการด้านอื่นๆ

                           •  เร่งขยายงานและโครงการพัฒนาการเกษตรในระดับไร่นาโดยด่วน โดยให้มีการ

                              สนับสนุนด้านการเงินอย่างเต็มที่ ส าหรับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานตามโครงการต่างๆ ให้

                              เร่งรัดการด าเนินงานตามเป้าหมายที่ก าหนดไว้
                           •  เกษตรกรชั้นผู้น้อยที่ยากจนในบางท้องถิ่นของภาคต่างๆ จ าเป็นต้องได้รับความ

                              ช่วยเหลือจากรัฐเป็นกรณีพิเศษ โดขจัดวางโครงการพัฒนาเกษตรเป็นเฉพาะพื้นที่ขึ้น

                              เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ าในด้านความเป็นอยู่ในหมู่เกษตรกรด้วยกันเอง

                           •  เร่งรัดการขยายสินเชื่อไปสู่ชนบทให้เพิ่มขึ้นโดยเร็ว ขณะเดียวกันก็เร่งท าการปรับปรุง

                              กลไกของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานการให้สินเชื่อเพื่อให้งานทุกด้านขยายตัว
                              สอดคล้องกัน ส าหรับการระดมทุนเพื่อขยายสินเชื่อการเกษตรจะก าหนดมาตรการให้

                              สถาบันการเงินของเอกชนมีบทบาทรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น

                           •  สนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวเป็นสถาบันเกษตรกรให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อให้เกษตรกร
                              สามารถรับบริการในด้านต่างๆ ของรัฐได้เต็มที่ การปรับปรุงสถาบันเกษตรกรที่มีอยู่




                   12  ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 -

                   2524.


                                                            86
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101