Page 100 - kpi19164
P. 100
เศรษฐกิจ ระหว่างพื้นที่และระหว่างกลุ่มเป้าหมายต่างๆ มากกว่าที่จะปล่อยให้ผลประโยชน์จากการ
พัฒนาเกิดขึ้นเฉพาะบางพื้นที่หรือตกอยู่ในบางกลุ่มชนอย่างที่เคยเป็นมา
(3) เน้น “การแก้ปัญหาความยากจน” ของคนชนบทในเขตล้าหลัง เป็นเป้าหมายส าคัญ
เพื่อให้ประชาชนในชนบทเหล่านี้ได้มีโอกาสช่วยตัวเองและมีส่วนร่วมในขบวนการผลิตและพัฒนา
ประเทศได้ต่อไปในอนาคต
• สรุปสาระส าคัญของแผน
เพื่อให้การพัฒนาชนบทยากจนได้เป็นไปตามหลักการเป้าหมายและระเบียบส านัก
นายกรัฐมนตรี ที่ว่าด้วยการก าหนดพื้นที่เป้าหมาย จึงได้ก าหนดแผนหลักขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายให้
ประชาชนยากจน จ านวน 7.5 ล้านคน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ สามารถ
หลุดพ้นจากปัญหาส าคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยากจน เช่น ความขาดแคลน ความหิวโหย โรคภัยไข้
เจ็บ และการขาดแคลนความรู้ สหกรณ์ได้มีบทบาทในการพัฒนาชนบทตามแนวทางของแผนเพื่อ
แก้ปัญหาความยากจนของประชากรชนบทโดยการยกระดับให้ขึ้นมาสู่ความพออยู่พอกินดังนี้ คือ
(1) แผนงานสร้างงานในชนบท เป็นแผนงานเฉพาะ ที่ด าเนินการต่อเนื่องมาจากปีก่อนๆ
ได้แก่ โครงสร้างงานในชนบท ซึ่งยังมีความจ าเป็นที่จะต้องมีการด าเนินการต่อไปในช่วงแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 5 (2525-2529) ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะในเขตชนบท
ยากจนให้มีงานท าในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว อีกทั้งเพื่อพัฒนาองค์กรท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และสามารถพึ่ง
ตัวเองได้ในระยะยาว อย่างไรก็ดีสิ่งที่ต้องพึงตระหนักก็คือ แผนงานสร้างงานในชนบทนั้นจะต้องลด
บทบาทตัวเองได้ในระยะยาว เมื่อการพัฒนาชนบทตามแนวทางใหม่ ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาให้ตรงจุดและ
ด าเนินการได้ผลมากขึ้นในอนาคต และบทบาทของสหกรณ์ในส่วนนี้สหกรณ์จะช่วยแก้ปัญหาให้
เกษตรกรที่ประสบปัญหาทั้งในเรื่องการเงิน การผลิตและการตลาด โดยสหกรณ์จะให้สินเชื่อทางการ
เกษตรแก่สมาชิก เพื่อน าไปใช้เป็นเงินทุนในการท าการเกษตร และจะช่วยในส่วนการรวมซื้อปัจจัย
การผลิตและการรวมขายผลผลิตของสมาชิก ที่ส าคัญคือด าเนินงานทางด้านการตลาดแทนสมาชิก มี
การจัดตั้งตลาดกลางเพื่อตัดปัญหาพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยน า
การสหกรณ์มาช่วยในการให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นสมาชิกมาแก้ปัญหาร่วมกันและให้สามารถ
พึ่งตนเองได้ในระยะยาวบริหารงานพัฒนาของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศทั้งในส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค
(2) แผนงานกิจกรรมในระดับหมู่บ้าน จะมุ่งแก้ปัญหาที่ชาวชนบทยากจนเผชิญอยู่ในระดับ
หมู่บ้าน เช่น ความอดอยากขาดแคลน โดยเฉพาะอาหารหลัก เช่น ปลา ซึ่งนับวันจะมีจ านวนลด
น้อยลง และเป็ดไก่ ซึ่งมีอัตราการตายจากโรคระบาดอย่างวิตก นอกจากนั้นยังมีปัญหาทางด้านขาด
90