Page 102 - kpi19164
P. 102

•  ผลกระทบจากการพัฒนา
                           ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 จากการประเมินผลปรากฎว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

                   ของประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ขยายเฉลี่ยได้เพียงร้อยละ 4.4 ต่อปีเท่านั้น เทียบกับที่เคย

                   ขยายตัวได้เกินร้อยละ 7 ของแผนพัฒนาฯ ที่ผ่านๆ มา จะเห็นได้ว่าต่ าลงไปมาก และต่ ากว่า
                   เป้าหมายร้อยละ 6.6 ที่ก าหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 อีกด้วย เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะได้เกิด

                   ภาวะเศรษฐกิจตกต่ าขึ้นทั่วโลก มีการแข่งขันและกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศอย่างรุนแรง แม้

                   ประเทศไทยจะสามารถคลี่คลายปัญหาไปได้หลายด้านทั้งๆ ที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง
                   ประเทศไม่สู้จะอ านวยมากนัก แต่ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ส าคัญอีกหลายประการยังคงมีอยู่โดยเฉพาะ

                   การขาดดุลการคลัง ความยากจนและการว่างงาน ตลอดจนภาระหนี้ของประเทศที่สะสมมากขึ้น ซึ่ง

                   จ าเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขต่อไป


                   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)
                                                                               14
                       •  สถานการณ์การพัฒนา

                           เมื่อพิจารณาถึงสภาพปัญหาและข้อจ ากัดส าคัญๆ ประกอบกับโอกาสของการพัฒนาที่คาด
                   ว่าประเทศจะได้รับ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 จึงได้ก าหนดแนวทางการพัฒนาส าคัญๆ ดังนี้

                           (1) เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และ

                   เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการ โดยยึด
                   หลักการท างานอย่างเป็นระบบและครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทบทวนบทบาทของรัฐให้อยู่ใน

                   กรอบที่เป็นหน้าที่อันชอบธรรมของรัฐ และค านึงถึงความเหมาะสมกับขีดความสามารถและฐานะ

                   การเงินการคลังเป็นส าคัญ โดยหันมาเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนให้มากขึ้นในการพัฒนาประเทศ ไม่
                   เฉพาะแต่ทางด้านการผลิตเท่านั้น แต่ให้รวมถึงการให้บริการพื้นบานบางประการ ซึ่งเคยเป็นหน้าที่

                   ของรัฐอีกด้วย

                           (2) ปรับปรุงระบบการผลิต การตลาด และยกระดับคุณภาพปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
                   เพื่อให้ต้นทุนสินค้าลดลง กระจายชนิดสินค้าให้มากขึ้นควบคู่ไปกับการขยายตลาด ซึ่งจะท าให้สินค้า

                   ไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็จะเน้นการพัฒนาระบบตลาดในประเทศไป

                   พร้อมๆ กัน
                           (3) มุ่งกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น โดยให้ยึดกลุ่มผู้มี

                   รายได้น้อย ทั้งในภูมิภาคและชนบท เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ควรได้รับผลจากการพัฒนาประเทศ


                   14  ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 พ.ศ. 2530 -

                   2534.


                                                            92
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107