Page 104 - kpi19164
P. 104

•  ผลกระทบจากการพัฒนา
                           ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศไทยได้ฟื้นตัว

                   และขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนฯ ถึง

                   หนึ่งเท่าตัว และนับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา
                   ปัจจัยส าคัญที่ผลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราที่สูง เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออก

                   การลงทุน และการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งขยายตัวสูงกว่าที่ได้ประมารณการไว้ค่อนข้างมาก

                   นอกจากนั้น ภาวะเศรษฐกิจโลกได้เอื้ออ านวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                   ราคาน้ ามันและอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศอุตสาหกรรมได้ปรับตัวสูงขึ้นตลอดทั้งความได้เปรียบ

                   ของไทยในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยกรมนุษย์ และอัตราค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูงมากนัก ท าให้

                   ฐานะการแข่งขันของไทยในตลาดโลกอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบจึงท าให้การลงทุนและการส่งออกเพิ่มขึ้น
                   มาก แม้ว่าการขยายตัวอย่างสูงของเศรษฐกิจจะมีผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหลายประการก็ตาม แต่

                   การขยายตัวนั้นได้ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในการพัฒนาซึ่งจะเป็นข้อจ ากัดของการพัฒนาในระยะ

                   ยาวของประเทศ  อาทิ ปัญหาความเหลื่อมล้ าของรายได้ระหว่างกลุ่มครัวเรือนระดับต่างๆ ที่อาศัย
                   อยู่ในเมืองกับชนบทมีมากขึ้น กลุ่มอาชีพยากจนที่สุดยังคงเป็นกลุ่มเกษตรกร ซึ่งปรากฎว่ามีรายได้

                   น้อยที่สุด คือ เพียงครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ยทั้งประเทศเท่านั้น


                                                                               15
                   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)
                       •  สถานการณ์การพัฒนา

                           การพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 จ าเป็นจะต้องให้มีความสมดุลระหว่างการพัฒนาใน

                   เชิงปริมาณ คุณภาพ และความเป็นธรรมในสังคมควบคู่กันไป เพื่อน าไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและ
                   ยั่งยืน โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ได้ก าหนดแนวทางการพัฒนางานสหกรณ์ให้มุ่งเน้นการปรับปรุง

                   การบริหารพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้การลงทุนของรัฐในการพัฒนาการเกษตรถึงมือ

                   เกษตรกร และแก้ปัญหาในระดับพื้นที่ที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของเกษตรกร โดยมี
                   มาตรการดังนี้

                           (1) ให้มีการจัดท าแผนปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรระดับจังหวัดที่มีแผนงานและ

                   โครงการสนองตอบต่อการแก้ปัญหาและความต้องการของเกษตรกร ในลักษณะการท างานแบบ
                   ผสมผสานของหน่วยงานต่างๆ และเป็นเครื่องมือที่จะรองรับระบบบริหารของรัฐบาลในการกระจาย

                   อ านาจและงบประมาณให้แก่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น


                   15  ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535 -

                   2539.


                                                            94
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109