Page 109 - kpi19164
P. 109

•  สรุปสาระส าคัญของแผน
                           หลังจากได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ในบทบัญญัติมาตรา 10 (1) และ

                   10 (2) ได้ก าหนดให้คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ (คพช.) มีอ านาจหน้าที่ในการก าหนด

                   นโยบายและแผนพัฒนาการสหกรณ์ให้สอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                   แห่งชาติ ดังนั้นแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 1 จังดได้จัดท าขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาของ

                   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ซึ่งมีกรอบเวลาการด าเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2546

                   – 2549 เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนที่เกี่ยวข้องกับขบวนการสหกรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
                   จัดการองค์กรและโครงสร้างขบวนการสหกรณ์ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เอื้อต่อการด าเนินงานของ

                   สหกรณ์ รวมทั้งพัฒนาระบบสนับสนุนและการสร้างความเข้าใจเรื่องสหกรณ์แก่คนในสังคม ดังนั้น

                   สามารถสรุปสาระส าคัญของแผนพัฒนาสหกรณ์ได้ดังนี้
                           (1) การพัฒนาคนที่เกี่ยวข้องกับขบวนการสหกรณ์ เป็นการพัฒนาสมาชิกสหกรณ์ ผู้แทน

                   สมาชิก กรรมการด าเนินการสหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ฝ่ายจัดการสหกรณ์ นักวิชาการ/

                   วิทยากรด้านสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้มีศักยภาพและความพร้อมปฏิบัติงานใน
                   บทบาท หน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ให้การศึกษาอบรม

                   รณรงค์เผยแพร่สร้างความร่วมมือให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน

                           (2) การพัฒนาคุณภาพสหกรณ์ (องค์กร) เป็นการพัฒนากระบวนการบริหารและจัดการ
                   องค์กรของสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพในการด าเนินงาน มีการบริหารงานโปร่งใส มีแผนกลยุทธ์ในการ

                   ด าเนินงานและมีตัวชี้วัดความส าเร็จของสหกรณ์ รวมทั้ง มีความมั่นคง ยั่งยืนเป็นองค์กรที่พึ่งด้าน

                   เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของสมาชิก
                           (3) การพัฒนาโครงสร้างขบวนการสหกรณ์และระบบเครือข่าย เป็นการพัฒนาองค์กรกลาง

                   ระดับสูงของขบวนการสหกรณ์ เช่น สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และชุมนุมสหกรณ์

                   ระดับประเทศ ให้เป็นองค์กรน าของขบวนการสหกรณ์ โดยการพิจารณาทบทวนเรื่องประเภท
                   สหกรณ์ ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรสหกรณ์ขั้นปฐม ปรับปรุงโครงสร้างขบวนการสหกรณ์ให้เกิด

                   เครือข่ายความร่วมมือ ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ กับองค์กร

                   ประชาชน และเอกชนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
                           (4) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสหกรณ์เป็นการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างพระราชบัญญัติ

                   สหกรณ์ เพื่อให้ได้กฎหมายที่ง่ายต่อความเข้าใจและเอื้อต่อการด าเนินงานและพัฒนาขบวนการ

                   สหกรณ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
                           (5) การพัฒนาระบบสนับสนุนเป็นการพัฒนาระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อการพัฒนาขบวนการ

                   สหกรณ์โดยการจัดตั้งสถาบันสนับสนุนด้านวิชาการ จัดตั้งสถาบันการเงินกลางของขบวนการสหกรณ์




                                                            99
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114