Page 89 - kpi17968
P. 89

78




                            1.  ศาลยุติธรรมตั้งแผนกพิเศษขึ้นเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์

                              เพื่อให้การพิจารณาคดีเร็วขึ้น กล่าวคือ ให้พิจารณาคดีให้เสร็จ
                              ภายใน 6 เดือน


                           2.  การใช้กฎหมาย ซึ่งควรจะมีการเคารพหลักกฎหมายในเรื่องการ
                              ถูกกักตัวในศาลไม่ว่าจะเป็นศาลใดก็ตาม หรือการถูกคุมขังก่อน
                              ขึ้นศาลซึ่งควรจะต้องมีการแจ้งครอบครัว และทนายของผู้ต้องหา


                           3.  ถ้าผู้ต้องหาเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                              เยาวชน ก็ต้องขึ้นศาลพลเรือนไม่ใช่ศาลทหาร


                           4.  ถ้าพลเรือนถูกกล่าวว่ากระทำผิดในคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง

                              โดยทั่วไปแล้ว พลเรือนก็จะต้องขึ้นศาลพลเรือน แต่ในบางกรณี
                              ที่จะต้องขึ้นศาลทหาร ก็อาจขอให้ผู้พิพากษาในศาลทหารมีความ
                              เป็นกลาง และมีอิสระในการพิจารณาคดีเพื่อให้ใกล้สภาพของ

                              ศาลพลเรือนให้มากที่สุด และถ้าจะขึ้นศาลทหารก็ขอให้เป็นศาล
                              ชั้นต้นเท่านั้น แต่ถ้าหากต้องมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ก็ควรให้
                              เป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาในศาลพลเรือน


                           5.  ถ้ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การทรมาน
                              หรือการบังคับให้สาบสูญ ไม่ว่าผู้ต้องหาจะเป็นพลเรือนหรือฝ่าย

                              ใดก็ตาม ก็ควรขึ้นศาลพลเรือน

                       ทั้งหมดนี้ถือเป็นการช่วยแบ่งเบาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับกระบวนการ

               ยุติธรรมด้วยที่ไม่ต้องไปรับภาระการโอนคดีต่อศาลยุติธรรมที่มีความเชี่ยวชาญ
               อยู่แล้วก็อาจช่วยบรรเทาความเดือดร้อนกับทุกฝ่าย และนี่คือการเคารพหลัก
               สากลในเรื่องประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม


                       ประเด็นสุดท้าย เรื่องกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและการประหาร
               ชีวิต ปัจจุบัน ประเทศไทยได้พัฒนากระบวนการยุติธรรมให้ดีขึ้นในหลายๆ ด้าน

               และในเรื่องการตรวจขานักโทษซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มานาน และเป็นสิ่งที่
               องค์การสหประชาชาติถือว่าเป็นการเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่วนใน





                   ปาฐกถาพิเศษ
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94