Page 91 - kpi17968
P. 91
80
ลำดับสูงในรัฐ คงหมายถึงเลือกตั้งแบบเสรี ยุติธรรม ต้องฟังเสียงข้างมากโดยไม่
ลืมเสียงข้างน้อย และต้องเคารพความหลากหลาย การปราบปรามต้องใช้วิธีที่ไม่
รุนแรง นำกระบวนการโดยพลเรือน ฝ่ายอื่นก็อาจมีบทบาทด้วยในกรอบของ
มาตรฐานสากล
4. มิติใหม่ของหลักนิติธรรม ที่เน้นเรื่องสำนึกรับผิดชอบ
(accountability) ถ้ากลไกในรัฐดีก็ดี แต่ถ้ากลไกในรัฐไม่เพียงพอก็อาจต้องเสริม
ในหลักสากล ที่สำคัญคือ ต้องต่อต้านการลอยนวล (impunity)
ทั้งนี้ ความรับผิดชอบที่กล่าวถึงนี้ อาจจะเป็นความรับผิดชอบทางแพ่ง
หรือทางการเมืองก็ได้ หากเป็นเรื่องใหญ่ก็ต้องเป็นเรื่องโทษทางอาญา แต่ก็ยัง
พบว่าในหลายกรณียังไม่มีความรับผิดทางอาญา และถ้าหากเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่
ทำไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนใหญ่นโยบายจะเน้นไปทางการโยกย้ายมากกว่า
แต่ไม่ใช่การลงโทษจากศาล หากแต่ถ้าหากเป็นกรณีการกระทำความผิดของ
เจ้าหน้าที่รัฐนี้ องค์การสหประชาชาติกล่าวไว้ว่าต้องลงโทษบ้าง และการเยียวยา
ผู้เสียหายต้องกว้างขวาง รวมถึงชดเชยให้เหยื่อ นอกจากนี้ เรามีพระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.
2544 ซึ่งเป็นการชดใช้ให้เหยื่อจากคดีเชอรี่แอนด์ที่ถูกจำคุกโดยผิดพลาด แต่จะ
ต้องมีการเยียวยาต้องมากกว่าการชดใช้ ซึ่งการเยียวยาคือต้องทำให้มีการเข้าถึง
ความจริงด้วย มีการขอโทษ และต้องมีกระบวนการการเรียนรู้เพื่อไม่ให้เกิดการ
กระทำดังกล่าวซ้ำอีก
5. ไม่ให้มีช่องโหว่ในการปกป้องคุ้มครองมนุษย์ และถ้าหากมีช่องโหว่
ก็ต้องอุดช่องโหว่ให้ได้ ตัวเชื่อมระหว่างนิติธรรมกับประชาธิปไตยหมายความว่า
เราต้องเคารพรัฐบาลในการอุดช่องโหว่ แต่บางประเทศรัฐบาลไม่สามารถทำได้
ในหลักสากลเราไม่สามารถให้มีสุญญากาศทางการปกป้องมนุษย์ได้ ที่สำคัญ
เราไม่ลืมกลไกท้องถิ่น แต่ถ้าหากกลไกในประเทศไม่พอคงต้องเสริมด้วย
กลไกอื่นๆ คือกลไกขององค์การสหประชาชาติ เช่น กลไกที่เกี่ยวกับการพัฒนา
สิทธิมนุษยชน และธรรมาภิบาล
ปาฐกถาพิเศษ