Page 90 - kpi17968
P. 90
79
เรื่องโทษประหารชีวิตนั้น ก็มีแผนสิทธิมนุษยชนที่จะมุ่งยกเลิกการลงโทษประหาร
ชีวิตเช่นกัน
2. คานของดุลอำนาจ (check and balance) เนื่องจากเรามักจะเข้าใจ
ว่าการใช้อำนาจจะใช้เป็นคุณและไม่ละเมิด แต่ในเรื่องระหว่างองค์กรก็เป็นคาน
อำนาจต่อกัน ถ้าเราทำงานที่ยึดหลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตย การมี
องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐหลายองค์กรเป็นสิ่งที่ดี แต่จะต้องมีการแยกบริบทเรื่องของ
การใช้อำนาจให้ชัดเจน
ส่วนในเรื่องของศาลนั้น การมีศาลหลายศาลก็เป็นสิ่งที่ดีแต่ต้องมุ่งสู่
คุณภาพและความโปร่งใส อีกทั้งเรื่องความหลากหลายขององค์กรที่ช่วยเยียวยา
ประชาชนที่ได้รับความเสียหายนั้น นอกจากองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการแล้ว ก็ยังมี
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดิน สื่อมวลชน องค์กรพัฒนา
เอกชน (NGO) ภาคประชาสังคม และภาคส่วนธุรกิจ
3. การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ถ้าหากตีความแบบกว้าง จะพบว่า
เรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมปรากฏอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายการพัฒนาที่
ยั่งยืน 17 เป้าหมายเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยก็มุ่งสู่ความหลากหลายของการเข้าถึง
กระบวนการยุติธรรม และการช่วยให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วย ซึ่งการเข้า
ถึง หมายถึง การเข้าถึงกันและกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่แค่ประชาชนสามารถเข้าถึง
กระบวนการหรือเจ้าหน้าที่เท่านั้น หากแต่หมายถึงการที่กระบวนการและ
เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ด้วย
ที่สำคัญ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมจะต้องไม่เลือกปฏิบัติ โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถึงบุคคลที่จะสามารถช่วยให้ผู้ที่ประสบความเดือดร้อน
สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมต่างๆได้ เช่น ทนายความ ที่สำคัญ จะต้องไม่
ลืมกระบวนการในท้องถิ่นซึ่งผู้นำท้องถิ่นทั้งหลายจะต้องช่วยเหลือ ไม่ว่าจะ
เป็นการช่วยเหลือโดยเงินทุนและอื่นๆ ตลอดจนต้องไม่ลืมการสร้างจิตสำนึก
การศึกษา และค่านิยมเรื่องสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ ประชาธิปไตยก็ไม่ใช่แค่เรื่องของรัฐ แต่เป็นเรื่องที่จะต้องเริ่มที่
บ้าน เริ่มที่การเคารพสตรี การแสดงออกของเด็กในโรงเรียนด้วย แต่ว่าถ้าพูดถึง
ปาฐกถาพิเศษ