Page 255 - kpi17721
P. 255

ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน

           และแนวทางที่ได้ใช้ในการแก้ไขปัญหา


                 ช่วงแรกของการก่อตัวของ “โครงการตรวจสอบความโปร่งใสและติดตามการทุจริต
     ท้องถิ่นใจดี  ภาคประชาชน (ตปช.)” เริ่มจากทีมผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มกระตุ้นและ

           เปิดโอกาสให้ตัวแทนของชุมชนเข้ามาทำงานร่วมกัน  เมื่อมีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการ

           ตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทีมผู้บริหารเปิดโอกาสให้มีการตั้ง “คณะกรรมการ
           ฝ่ายตรวจสอบการทำงานของเทศบาล” ในช่วงแรกของการทำงานต่างเรียนรู้ปัญหาร่วมกันกับทีม
           ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของเทศบาลฝ่ายต่างๆ  คณะทำงานที่ตั้งมาจากภาคประชาชนและทีมบริหาร

           เริ่มปรึกษาหารือกันถึงปัญหาและขั้นตอนการทำงาน

                 1)  ปัญหา คือ ภาคประชาชนไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ทางทีมบริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล
           จึงต้องให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเข้าร่วมกิจกรรมกับเทศบาล ดังปรากฎ

           สัมภาษณ์ว่า “...วันนั้นที่นำเสนอกันแบบบ้านนอกๆ แบบนี้ล่ะครับ ไม่คิดว่ามันจะต้องไปถูกอกถูกใจ
     การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
           อะไรกันหรอก แต่เราทำเราอยากจะบอกว่าเราทำ และคณะกรรมการที่มาปุ๊ปก็เหมือนเขาคุยว่าไม่เคย
           ได้ยิน อธิบายให้พี่ฟังหน่อย อธิบายยังไง น่าจะมาศึกษา นับตั้งแต่วันนั้นพูดมาก็เพิ่งจะมาเห็นเพิ่งจะ

           มาเจอตัวเป็นๆ วันนี้ ว่ามาศึกษาแล้วจริงๆ ครับตรงนี้ อย่างผู้ใหญ่บ้านเขาดูแลตรงนี้ เขาจะมาประชุม
           กับเราเป็นประจำเดือนหรือกี่ครั้งก็ช่าง ในการประชุม 1 เดือน หรือการจัดทำแผนต่างๆ ผู้ใหญ่บ้าน
           เขาก็จะรับเรื่องจากลูกบ้านเขา พอมันความเป็นกันเองปุ๊ปเนี่ยก็มาคุยกันทำยังไงที่จะให้สำนักงาน

           เทศบาล...”

                   โดยตามหลักการ คือ การติดตามถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการปรับปรุง
           ประสิทธิภาพของโครงการที่ดําเนินการอยู่โดยที่ “การติดตาม” (monitoring) หมายถึง กิจกรรม

           ภายในโครงการซึ่งถูกออกแบบมา เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) เกี่ยวกับการดําเนินงาน
           โครงการ ปัญหาที่กําลังเผชิญอยู่และประสิทธิภาพของวิธีการดําเนินงาน หากไม่มีระบบติดตามของ
           โครงการแล้ว ย่อมส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการดําเนินงานให้ลุล่วง ค่าใช้จ่ายโครงการสูงเกินกว่า

           ที่กําหนดไว้ กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการไม่ได้รับประโยชน์หรือได้รับน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
           เกิดปัญหาในการควบคุมคุณภาพของการดําเนินงานเสียเวลาในการตรวจสอบความขัดแย้งในการ
           ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงานกับกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ


                 2)  การแก้ไขปัญหาจากทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล รับทราบปัญหา กำหนดแนวทาง
           ในการแก้ปัญหาและอุปสรรคให้ตรงจุด โดยพยายามแก้ไขปัญหาตามบริบทแวดล้อมของชุมชนเพื่อให้
           เกิดความสะดวกในการทำงาน เรียนรู้ปัญหาและแนวทางแก้ไขร่วมกัน เมื่อตัวแทนจากชุมชนเริ่ม

           เข้าใจกระบวนการและขั้นตอนการตรวจสอบตามลำดับ การเรียนรู้ร่วมกันนี้นำมาสู่การแก้ไขปัญหาได้




      2 8      สถาบันพระปกเกล้า
   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260