Page 260 - kpi17721
P. 260

ของเทศบาลในทุกๆ เรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน 2)  เกิดการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักใน

               บทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบ เน้นย้ำในประเด็นง่ายๆ สั้นๆ เลือกให้ประโยคที่ประชาชนคุ้นเคย
               ตัวอย่าง “ภาษีของคุณนะ  คุณต้องดูแลถ้าคุณไม่ดูแล”  คณะกรรมการตรวจสอบซึ่งมาทำหน้าที่ใน

               ฐานะตัวแทนของคนในชุมชนย่อมตระหนักถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม 3) ตัวแทนชุมชนและ
               ชาวบ้านในชุมชนเริ่มมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้น เริ่มจากการคณะกรรรมการที่ได้รับเลือก  ท้องถิ่นใจดี
               มาดำเนินงานตรวจสอบโครงการต่างๆ เริ่มมีตารางนัดเพื่อมาร่วมปฏิบัติการตรวจรับงาน ตรวจสอบ
               การดำเนินโครงการ ประชุม อบรม สัมมนาร่วมกับเทศบาลอย่างสม่ำเสมอ


                     ตามที่ได้กล่าวข้างต้นโครงการตรวจสอบความโปร่งใสและติดตามการทุจริตภาคประชาชน
               (ตปช.)  ถือเป็นโครงการต่อเนื่องที่พัฒนาต่อยอดมาจากโครงการและกิจกรรมดำเนินการมาหลายปี
               แล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ทีมบริหารเทศบาลและเจ้าหน้าที่จัดโครงการ 1 ประธานกับงานชุมชน

               ลักษณะของโครงการ คือ เป็นการจัดให้ประธานแต่ละชุมชนต้องมีหน้าที่พัฒนา ปรับปรุง ติดตาม
               ผลในงานแต่ละท่านที่ต้องรับผิดชอบ โดยทำเป็นข้อมูลต่างๆ ของงานที่ติดตามมาร่วมเสนอแนวทาง

               แก้ไข พัฒนา ปรับปรุงร่วมกับคณะผู้บริหารในทุกๆ เวทีที่มีการประชุม

                     ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน และแนวทางที่ได้ใช้ในการแก้ไขปัญหา ช่วงแรก
               ของการก่อตัวของ “โครงการตรวจสอบความโปร่งใสและติดตามการทุจริตภาคประชาชน (ตปช.)”

               เริ่มจากทีมผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเริ่มกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ตัวแทนของชุมชน
               เข้ามาทำงานร่วมกัน ทั้งนี้การมอบหมายงานให้ประธานชุมชนได้รับผิดชอบ ดูแลร่วมกันในแต่ละงาน
               จะทำให้ผลงานออกมาเป็นที่พอใจของประชาชนในพื้นที่ด้วย และที่สำคัญสามารถตรวจสอบ
               การทำงานได้โดยประธานชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง ทางทีมผู้บริหารกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาและ

               อุปสรรคเบื้องต้นตามบริบทแวดล้อมของชุมชนเพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำงาน เรียนรู้ปัญหา  การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
               และแนวทางแก้ไขร่วมกัน ในที่สุดตัวแทนจากชุมชนเริ่มเข้าใจกระบวนการและขั้นตอนการตรวจสอบ

               ตามลำดับ การเรียนรู้ร่วมกันนี้นำมาสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ก่อเกิดความเข้าใจตรงใน
               กระบวนการตรวจสอบระหว่าง “ภาคประชาชน” กับ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                     ประการสุดท้ายในด้านปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยที่เป็นเหตุเงื่อนไขเอื้ออำนวยให้การดำเนินงาน

               ประสบความสำเร็จ สำหรับการขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ พบว่าจุดแข็งของทีมบริหารที่มี
               นายกเทศมนตรีตำบลกงไกรลาศมาเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนโครงการตรวจสอบความโปร่งใส
               และติดตามการทุจริตภาคประชาชน (ตปช.)  บทเรียนที่ได้รับจากพื้นที่สามารถสรุปเป็น 3 ประเด็น
               คือ 1) การออกรูปแบบและพัฒนาการเครือข่ายที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในพื้นที่ 2) การบริหาร

               จัดการที่ยืดหยุ่นและมีโครงสร้างการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ และ 3) การขับเคลื่อน
               กิจกรรมเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน






                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  25
   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265