Page 257 - kpi17721
P. 257

2)  การบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นและมีโครงสร้างการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่

           การทำงานกับองค์กรต่างๆ และภาคีเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพระหว่าง
           ต่อมาทีมบริหารได้จัดทำเป็นโครงการที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่เกิดการ
     ท้องถิ่นใจดี  การทดลองปฏิบัติในระยะแรกแล้วได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี ต่อมาถึงพัฒนาเป็นโครงการต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้

           จากการก่อตัวของโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556 ทีมบริหารเทศบาลและเจ้าหน้าที่จัดโครงการ
           1 ประธานกับงานชุมชนได้มอบหมายให้มีการตั้งคณะกรรมการที่มีการแต่งตั้งขึ้นมาจากแต่ละชุมชน
           เพื่อมาทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างเป็นรูปธรรม และมีประกาศจากเทศบาลที่ชัดเจนให้เป็น

           “คณะกรรมการตรวจสอบความโปร่งใส การทุจริตคอรัปชั่นและการทำงานของเทศบาลตำบล
           กงไกรลาศ” ถือเป็นจุดแข็งในงานพัฒนาการเครือข่ายที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในพื้นที่

           เมื่อเทศบาลได้จัดทำประกาศติดบอร์ดของเทศบาลและประชาสัมพันธ์ผ่านเว็ปไซต์ พร้อมทั้งระบุ
           อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบความโปร่งใส การทุจริตคอรัปชั่นและการทำงานของ
           เทศบาลตำบลกงไกรลาศไว้ ตัวแทนชุมชนที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติงานกับ
           เจ้าหน้าที่เทศบาลตามภารกิจตามที่ประกาศไว้อย่างเป็นทางการ งานพัฒนาเครือข่ายนี้สะท้อนผ่าน
     การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
           กิจกรรมที่ดำเนินการสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ. 2558 คือ จัดประชุม ทบทวน กำหนด
           เป้าหมายการทำงาน การออกรูปแบบและพัฒนาการเครือข่ายที่เหมาะสมจนมาถึงโครงการตรวจสอบ
           ความโปร่งใสและติดตามการทุจริตภาคประชาชน (ตปช.)


                 3)  การขับเคลื่อนกิจกรรมเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การขับเคลื่อนกิจกรรม
           ได้พยายามเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบความโปร่งใสและติดตามการทุจริต

           ภาคประชาชน คือ ทีมบริหารเทศบาล พนักงานและเจ้าหน้าที่เทศบาลและภาคประชาชน  การมีส่วน
           ร่วมที่เกิดจากแนวคิด “ทำทุกวันไม่มีหยุด” และ “ไม่ได้ใช้ตังค์” ปัจจัยแห่งความสำเร็จนี้ ทีมบริหาร
           พนักงานและเจ้าหน้าที่ทำงานเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น เช่น การประชุมร่วมกับชาวบ้านบ่อยครั้ง การรับฟัง
           ความคิดเห็นประชาชน การทำประชาคมทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางครั้งเกินเวลาในการปฏิบัติหน้าที่

           ตามเวลาราชการบ้าง  การเปิดโอกาสให้ตรวจสอบผ่านโทรศัพท์  เว็ปไซต์ และอื่นๆ ได้ทุกเวลา
           จึงทำให้มีการจัดเวรยามทำหน้าที่รับฟังปัญหา การรับข้อมูลจากภาคประชาชนฯลฯ การทำงานเชิงรุก
           เช่นนี้บุคลากรของเทศบาลจึงต้องมีความพร้อมให้ความร่วมมือกับทีมผู้บริหารเทศบาลเป็นอย่างมาก

           โดยในช่วงเริ่มโครงการยุคแรกๆ จากการถอดบทเรียนถือว่าทีมผู้บริหารได้สร้างและสนับสนุนให้
           บุคลากรภายในมีการทำงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ก่อน จึงขยายกิจกรรมและโครงการไปสู่ภาค
           ประชาชน


                 ปัจจัยแห่งความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง คือ การขับเคลื่อนกิจกรรมเน้นการมีส่วนร่วมจากทุก
           ภาคส่วน โครงการนี้มีปัจจัยแห่งความสำเร็จมาจาก “ประธานชุมชน” ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาค
           ประชาชน ทั้งนี้ ความยั่งยืนของกิจกรรมและโครงการในระยะยาวจึงอยู่ที่ภาคประชาชนจะให้ความ





      250      สถาบันพระปกเกล้า
   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262