Page 256 - kpi17721
P. 256

ตรงจุด ก่อเกิดความเข้าใจตรงในกระบวนการตรวจสอบระหว่าง “ภาคประชาชน” กับ “องค์กร

               ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเทศบาลตำบลกงไกรลาศ”

                     3)  ทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลคิดวิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเชิงรุกที่เอื้อต่อ

               การตรวจสอบ โดยการปรับเปลี่ยนเพื่อเอื้อให้เกิดการตรวจสอบ เริ่มแรกที่มีผลต่อการรับรู้ของภาค  ท้องถิ่นใจดี
               ประชาชน เช่น การประชุมสภาสมัยวิสามัญ รูปแบบเดิมจัดประชุมในสำนักงานเทศบาล ต่อมามี
               การจัดประชุมตามสถานที่ต่างๆ จัดทำตารางกิจกรรมดพื่อให้ตัวแทนชุมชนได้รับทราบและเข้ามามี

               ส่วนร่วมใน 3 ลักษณะ คือ 1) ติดตามการประชุมสภาเทศบาลตำบลกงไกรลาศ สมัยสามัญและ
               วิสามัญที่จัดเป็นประจำทุกเดือน 2) ติดตามการประชุมโครงการจัดทำแผนตามภารกิจหลักของ
               เทศบาล คือ แผนพัฒนาท้องถิ่น ประกอบไปด้วยแผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาสามปี แผนปฏิบัติการ
               รวมถึงการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผนต่างๆ และ 3) ติดตามการดำเนินกิจกรรมตามแผน

               ปฏิบัติการประจำปีงบประมาณจากโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน

               ปัจจัยความสำเร็จ


                     ปัจจัยที่เป็นเหตุเงื่อนไขเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ  สำหรับการขับ
               เคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ พบว่าจุดแข็งของทีมบริหารที่มีนายกเทศมนตรีตำบลกงไกรลาศมาเป็นแกน

               หลักในการขับเคลื่อนโครงการตรวจสอบความโปร่งใสและติดตามการทุจริตภาคประชาชน (ตปช.)
               บทเรียนที่ได้รับจากพื้นที่สามารถสรุปเป็น 3 ประเด็น  คือ 1) การออกรูปแบบและพัฒนาการ
               เครือข่ายที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในพื้นที่ 2) การบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นและมีโครงสร้างการ

               ทำงานที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ และ 3) การขับเคลื่อนกิจกรรมเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
               โดยในแต่ละประเด็นมีรายละเอียดสามารถขยายความได้  ดังนี้                                การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล

                     1)  การออกรูปแบบและพัฒนาการเครือข่ายที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในพื้นที่ คณะทำงาน

               ได้ค้นพบจุดแข็งของทีมบริหารของเทศบาลที่ตัดสินใจเลือกทำโครงการที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลง
               วิธีการทำงานแบบเดิมของหน่วยงาน บทเรียนที่ได้รับจากกรณีศึกษานี้ คือ “ผลประโยชน์ของภาค
               ประชาชน” ทั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนแปลงในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่น่าสนใจ

               เพราะวิถีการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสัมพันธ์กับเรื่อง “ดูแลความสะอาด, ดูแลสวน,
               เกาะกลางถนนดูแลด้านการกีฬา,ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์,ดูแลกลุ่มงานอาชีพ, ดูถนน,
               รางระบายน้ำ, ไฟฟ้า, ประปา, ดูแลงานประเพณี, วัด, โรงเรียน,ดูแลเด็กและเยาวชน, ดูแลด้าน

               สาธารณสุข, ดูแลงานตลาดเทศบาล ฯลฯ” ซึ่งภาระงานส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการประมูลงาน การจัด
               ซื้อ/จัดจ้าง การเปิดโอกาสให้ตัวแทนภาคประชาชนเข้ามาเป็นคณะกรรมการตรวจงานร่วมกับ
               พนักงานเทศบาลทุกโครงการ ถือเป็นปัจจัยสำเร็จที่เกิดการออกรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับ

               สภาวการณ์ในพื้นที่ที่มีภาคประชาชนตื่นตัวในการมีส่วนร่วมกับเทศบาลผ่านตัวแทนชุมชน



                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  2
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261