Page 17 - kpi17073
P. 17
สาระส ั ละประเ น ลัก นการประ กล
KPI Congress รั 16
“8 ทศวรรษ ประชาธิปไตยไทย: พลวัตแห่งดุลอำนาจ”
การประชุมกลุ่มย่อยแบ่งเป็น 6 ห้อง ดังนี้
1. การสร้างดุลยภาพในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ
อำนาจอธิปไตยของไทย ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขของไทย อำนาจสูงสุดในการปกครองหรืออำนาจอธิปไตย
(Sovereignty) ประกอบด้วยอำนาจหลัก 3 ด้าน ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการโดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรหลักเพื่อใช้
อำนาจดังกล่าวอันได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล นอกจากนี้ ยังมี
องค์กรอิสระซึ่งเกิดขึ้นเพื่อเป้าหมายในการปฏิรูปการเมือง มีอำนาจหน้าที่ในการ
ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในด้านต่างๆ โดยเข้ามาเสริมความเข้มแข็งของกลไก
การตรวจสอบในระบบรัฐสภา และการตรวจสอบโดยกระบวนการยุติธรรม
เพื่อให้การใช้อำนาจรัฐในทุกมิติ เป็นไปโดยถูกต้องชอบธรรม ปราศจาก
การใช้อำนาจโดยมิชอบ (Abuse of Power) นอกจากการแบ่งแยกองค์กรผู้ใช้
อำนาจอธิปไตยด้านต่างๆ ออกจากกัน เพื่อมิให้รวมศูนย์อำนาจไว้ที่องค์กรใด
องค์กรหนึ่งแล้ว ยังจำเป็นต้องกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจ
ซึ่งหมายความรวมถึงการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างองค์กรต่างๆ โครงสร้าง
ที่มาของแต่ละองค์กร และอำนาจหน้าที่หลักของแต่ละองค์กรให้เหมาะสม
ไม่ทับซ้อนหรือมีช่องว่าง อันจะนำมาซึ่งความขัดแย้งในการแสดงบทบาทอำนาจ
หน้าที่หรือทำให้การใช้อำนาจรัฐนั้นบิดผันไปจากเจตนารมณ์อันแท้จริง
ดังนั้น แนวทางการปฏิรูปประเทศเพื่อก้าวสู่สังคมประชาธิปไตยอย่าง
แท้จริง จึงจำเป็นต้องสร้างดุลยภาพในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ ทำให้องค์กร
ผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางการเมือง องค์กรศาล หรือองค์กร
อิสระ สามารถแสดงบทบาทตามกรอบอำนาจหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล ภายใต้ระบบการติดตามตรวจสอบและถ่วงดุล ซึ่งเกิดขึ้นจาก
องค์กรที่อยู่ในโครงสร้างอำนาจรัฐนี้ และองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบนี้ รวมถึง
องค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐอื่นๆ ทั้งหมดต่างต้องอยู่ภายใต้ระบบการตรวจสอบการใช้
อำนาจโดยองค์กรอื่นๆ ด้วยเช่นกัน