Page 20 - kpi17073
P. 20

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   19


                      จำนวนมากจึงยากที่จะตรวจสอบเส้นทางของการกระทำ ส่งผลให้เกิดความเสียหายและความเสีย
                      โอกาสต่อทุกภาคส่วนในสังคม


                            ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหา
                      สังคมตามมาจนเข้าขั้นวิกฤติ ซึ่งมีรายงานการวิจัยที่ยืนยันสถานการณ์ได้ว่า สังคมไทยมีแนวโน้ม

                      ของการ “ยอมรับการทุจริต” เพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์หรือให้งานเดินต่อไปได้เพิ่มสูงขึ้น
                      แสดงให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตกลายเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับได้ โดยที่ไม่ได้รู้สึกว่าจะต้องต่อต้าน

                      หรือหวงแหนกับทรัพยากรที่สูญเสียไป

                            ดังนั้น การจัดการกับปัญหาการทุจริตจึงควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน และต้องได้รับความร่วมมือ

                      จากทุกภาคส่วนในสังคม โดยต้องให้ความสำคัญกับการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาเริ่มตั้งแต่การสร้าง
                      ความตระหนักให้กับสังคม (social awareness) การสร้างมาตรการทางสังคมเพื่อสนับสนุนให้คน

                      ทำความดีและส่งเสริมคนดี ตลอดจนการมีกลไกการควบคุมทางสังคม (social control) และ
                      มาตรการลงโทษทางสังคม (social sanction) เพื่อเป็นการสร้างพลังอำนาจการตรวจสอบถ่วงดุล
                      กับฝ่ายการเมืองและกลุ่มอิทธิพลผู้มีอำนาจ ตลอดจนการสร้างความซื่อสัตย์สุจริตให้กลายเป็น

                      ค่านิยมหลักของสังคม และเร่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในสังคม อันจะนำไปสู่การต่อต้านการทุจริต
                      ได้ยั่งยืนอย่างแท้จริง


                      ประเด็นการอภิปรายในห้องย่อย


                             1) การเสริมสร้างสังคมคุณธรรมและป้องกันการทุจริต


                            2) แนวทางและมาตรการเพื่อเสริมสร้าง ป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาคส่วนต่างๆ

                            3) การปรับโครงสร้างดุลอำนาจและวัฒนธรรมการอุปถัมภ์เพื่อการต่อต้านการทุจริต


                      5. สถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมือง: ดุลยภาพที่เหมาะสม


                            การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และยั่งยืน ต้องการความสมดุลระหว่าง
                      การเมืองที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านสถาบันการเมือง ซึ่งประชาชนมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนตน

                      ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมาย การบริหารราชการแผ่นดิน การพิพากษาคดีต่างๆ และการเมือง
                      ที่พลเมืองรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมสาธารณะ ผลักดันนโยบาย เรียกร้องความต้องการเพื่อให้
                      บรรลุในเป้าหมายของกลุ่มหรือประโยชน์ส่วนรวม และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หรือที่เรียกว่า

                      “การเมืองภาคพลเมือง”


                            การทำหน้าที่หนุนเสริมและตรวจสอบของการเมืองทั้ง 2 ระบบ จะนำไปสู่การเมืองที่มี
                      ดุลยภาพ คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขณะเดียวกันภาครัฐก็สามารถบริหารราชการ
                      แผ่นดินได้โดยการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน อย่างไรก็ตาม หากการเมืองแบบตัวแทนที่ใช้

                      อำนาจในการบริหารมากเกินไปก็จะกระทบต่อการแสดงออกทางการเมืองและความเคลื่อนไหว
                      ของประชาชน ขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากภาคประชาชน ในขณะเดียวกัน การเมืองภาค

                      พลเมืองซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่พลเมืองมีส่วนร่วมเพื่อ
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25