Page 18 - kpi17073
P. 18

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   17


                      ประเด็นการอภิปรายในห้องย่อย


                             1) แนวคิดและหลักการ ความสัมพันธ์(ทางอำนาจ) และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ
                                ประสิทธิผลของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร


                            2) ระบบการติดตามตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐโดยกระบวนการยุติธรรม และ
                                องค์กรอิสระ


                            3) กลไก มาตรการป้องกันแก้ไขความขัดแย้งระหว่างองค์กรในโครงสร้างอำนาจรัฐ (เช่น

                                รัฐสภากับคณะรัฐมนตรี ศาลกับองค์กรอิสระ หรือคณะรัฐมนตรีกับองค์กรอิสระ) โดย
                                การมีส่วนร่วมตัดสินใจโดยตรงของประชาชนผ่านการออกเสียงประชามติ


                            4) ดุลยภาพและความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กร
                                อิสระ รวมถึงระหว่างองค์กรดังกล่าวกับประชาชน


                      2. การสร้างดุลอำนาจภายในรัฐสภา


                            รัฐสภาเป็นสถาบันการเมืองที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (Legislative power) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาม
                      เสาหลักของอำนาจอธิปไตยแทนปวงชน ในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาแบบที่ประเทศไทย

                      ยึดถือมากว่าแปดสิบปี รัฐสภาถือเป็นสถาบันการเมืองที่เข้าถึงและสื่อสารกับประชาชนได้มาก
                      ที่สุด เนื่องจากรัฐสภาเป็นที่รวมของผู้แทนโดยตรงของประชาชนในการทำหน้าที่สำคัญหลาย
                      ประการ ตั้งแต่การพิจารณาและผ่านกฎหมาย การควบคุมอำนาจบริหารราชการแผ่นดินของ

                      คณะรัฐมนตรี รวมถึงการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญของแผ่นดิน เช่น การให้ความเห็นชอบ
                      หนังสือสัญญา การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบ

                      ในการสืบราชสมบัติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาของการพัฒนาประชาธิปไตย
                      ในประเทศไทยได้ปรากฏปัญหาของฝ่ายนิติบัญญัติอยู่เป็นระยะ ทั้งในเรื่องการเข้าสู่อำนาจ การใช้
                      อำนาจ และการตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกรัฐสภา ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามนำระบบ

                      การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภามาใช้หลายรูปแบบ มีการออกแบบและปรับปรุงอำนาจหน้าที่สภาที่สอง
                      เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ตลอดจนมีการกำหนดมาตรการทาง

                      กฎหมายในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมือง แต่ดูเหมือนว่า ยังไม่มีคำตอบที่ลงตัว
                      ในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้น ในวาระที่ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองขนานใหญ่
                      การทบทวนองค์ความรู้และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อค้นหาแนวทางที่เป็นไปได้และ

                      เหมาะสมในการสร้างดุลอำนาจภายในรัฐสภาจึงมีความสำคัญต่อการวางรากฐานประชาธิปไตยที่
                      มั่นคงและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบการเมืองไทยในระยะยาว


                      ประเด็นการอภิปรายในห้องย่อย


                             1) กระบวนการเข้าสู่อำนาจของสมาชิกรัฐสภา


                            2) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23