Page 19 - kpi17073
P. 19

18     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                        3) กลไกตรวจสอบและควบคุมการใช้อำนาจภายในรัฐสภา และการประสานเชื่อมโยงผล
                           ประโยชน์ของประชาชน


                        4) บทบาทของพรรคการเมืองในการสร้างดุลอำนาจภายในรัฐสภา

                  3. ดุลอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ


                       ดุลอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบ

                  ระบบการบริหารภาครัฐ เพราะเกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาและความต้องการของ
                  ประชาชนไปสู่การกำหนดนโยบาย และการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในช่วงหนึ่ง

                  ประเทศไทยมีรัฐราชการ(bureaucratic polity) ซึ่งระบบราชการเข้าไปบทบาทสำคัญในการ
                  กำหนด และนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในอีกช่วงเวลาหนึ่งฝ่ายการเมืองมีความเข้มแข็งมากขึ้น
                  จนสามารถเข้าแทรกแซงระบบราชการเพื่อผลักดันนโยบายเฉพาะหน้าที่มุ่งสร้างฐานคะแนนนิยม

                  ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ของระบบอุปถัมภ์ การขาดความเป็นมืออาชีพ


                       ยิ่งไปกว่านั้น หากทั้งสองสถาบันร่วมกันใช้อำนาจโดยมิชอบก็จะเกิดผลเสีย เกิดการ
                  ร่วมมือกันกระทำทุจริตที่ยากต่อการตรวจสอบ หรือเกิดการดำเนินนโยบายสาธารณะที่ผิดพลาด

                  ไม่ตอบสนองต่อประชาชนตามเป้าหมาย ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองซึ่งเป็นตัวแทน
                  ประชาชนที่มาจากการเลือกตั้ง และข้าราชการประจำซึ่งมาจากระบบการคัดสรรบนพื้นฐานของ
                  ความรู้ ประสบการณ์ และอาวุโส จึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการศึกษา เพื่อหาแนวทางใน

                  การสร้างระบบที่นำไปสู่ดุลยภาพของอำนาจของสถาบันทั้งสอง

                  ประเด็นการอภิปรายในห้องย่อย


                        1) ดุลยภาพอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ เช่น การแบ่งบทบาท

                           การตรวจสอบ การถ่วงดุล การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำ ความสัมพันธ์ที่ไม่
                           แทรกแซงซึ่งกันและกัน


                        2) กลไกในการเสริมสร้างความสมดุลระหว่างฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ


                        3) ดุลอำนาจในกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม

                  4. แนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตเพื่อสร้างดุลอำนาจอย่างแท้จริง


                       การทุจริตและประพฤติมิชอบของนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจที่เป็นกลุ่มผลประโยชน์

                  ต่างๆ เป็นปัญหาที่หยั่งรากฝังลึกในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเป็นเหตุผลหลัก
                  ที่ทำให้ดุลอำนาจทางการเมืองต้องเกิดความสั่นคลอนจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
                  การปกครองในรัฐบาลหลายยุคสมัย เมื่อนักการเมืองและข้าราชการประจำทุจริต จึงเป็นปัญหา

                  ที่จัดการยาก เนื่องจากมีลักษณะของการร่วมมือกันกระทำอย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน
                  มีความแยบยลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งเกี่ยวข้องโยงใยกับบุคคล
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24