Page 16 - kpi17034
P. 16
การสร้างสำนึกพลเมือง
“พลเมือง” แตกต่างจากคำว่า “ประชาชน” และ “ราษฎร” อย่างไร โดยมี
ความเข้าใจคุณสมบัติและคุณลักษณะที่ดีของพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เกิดความตระหนัก
ในบทบาทหน้าที่และศักยภาพของตนในฐานะพลเมือง (สื่อประกอบ
การอธิบาย สไลด์ 2-3A, 6-13 A 13, 114-148A, 7B และ G4)
บทที่ 2 ประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมของ “พลเมือง” ใน
ระบอบประชาธิปไตย บทนี้มุ่งหวังทำความเข้าใจหลักการสำคัญของการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของพลเมือง โดยเน้นให้
เห็นว่าพลเมืองสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศได้หลายรูปแบบ
เช่น ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศร่วมกับภาครัฐและประชาสังคม
ต่างๆ ผ่านการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันและการจัดทำข้อเสนอ
เชิงนโยบาย เป็นต้น (สื่อประกอบการอธิบาย สไลด์ 18-23A, 38-70A,
8-20B)
ในบทนี้ มีกิจกรรมอยู่ 4 กิจกรรม เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจให้
มากยิ่งขึ้นประกอบด้วย
กิจกรรมที่ 3 เรื่อง อะไรนะ...ความรู้ ทักษะ เจตคติ เพื่อชี้ให้เห็นว่า
เป็นสิ่งสำคัญของการเป็นพลเมือง โดยมุ่งให้นักเรียนเข้าใจความหมายของ
ความรู้ ทักษะ และเจตคติ และเข้าใจว่าแต่ละส่วนเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
อย่างไร โดยในกิจกรรมที่ 3 นี้ จะมีใบความรู้เรื่อง “ความรู้ ทักษะ เจตคติ
ต่างกันอย่างไร” แนบท้ายเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น (สื่อประกอบ
การอธิบาย สไลด์ 27-37A, 8-20B)
กิจกรรมที่ 4 เรื่อง ประชาธิปไตยในใจฉัน มุ่งเน้นให้นักเรียนและ
ชุมชนได้ทบทวนความเข้าใจที่มีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อาทิ
หลักการสำคัญ สถานการณ์ประชาธิปไตยในปัจจุบัน ทิศทางและแนวโน้ม
ในอนาคต อันเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางพัฒนา
ที่มีประสิทธิภาพต่อไป โดยในกิจกรรมที่ 4 นี้ จะมีใบความรู้เรื่อง