Page 483 - kpi16531
P. 483

นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               สัมปทาน หรือการจ้างเหมาตามความในมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
               ประกอบกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548

               แต่เทศบาลไม่อาจอาศัยมาตรา 22 และมาตรา 29 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ
               ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ มอบให้เอกชนจัดเก็บค่าธรรมเนียม
               จอดยานยนตร์ในเขตเทศบาลแทนเทศบาลได้ เนื่องจากมาตรา 22 บัญญัติว่า องค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้เอกชนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แทนได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าว

               ไม่ครอบคลุมถึงการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย ส่วนมาตรา 29 วรรคสาม บัญญัติให้องค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่นจะมอบให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น จัดเก็บ

               ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าตอบแทน หรือรายได้อื่นใด เพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
               นั้นก็ได้ โดยไม่มีกำหนดให้มอบให้เอกชนจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย เทศบาลจึงไม่อาจอาศัย
               พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ
               มอบให้เอกชนจัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดรถยนต์ในทางหลวงหรือที่สาธารณะแทนเทศบาลได้


                    เนื่องจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นประเด็นปัญหาสำคัญจึงหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา
               พร้อมขอคำแนะนำเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป


                    คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) พิจารณาข้อหารือของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
               และได้รับฟังข้อเท็จจริงจากผู้แทนกระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้
               แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ผู้แทนกระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) ผู้แทน
               กระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ผู้แทนเทศบาลนครพิษณุโลก และผู้แทน

               เทศบาลนครขอนแก่น เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ในเขตเทศบาลและ
               สุขาภิบาล พ.ศ.2503 เป็นกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลเกี่ยวกับการจัดระเบียบการ

                                                           5
               จอดยานยนตร์ไว้เป็นการเฉพาะ โดยมาตรา 4  แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้เทศบาล
               มีอำนาจตราเทศบัญญัติกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ และวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมจอด
               ยานยนตร์ ประกอบกับมาตรา 5  และมาตรา 6 (2)  ได้กำหนดบุคคลผู้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มี
                                                               7
                                             6
                  5   มาตรา 4 ให้เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติและให้สุขาภิบาลมีอำนาจตราข้อบังคับสุขาภิบาลเพื่อประโยชน์
               ในการจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ ดังต่อไปนี้

                     (1) กำหนดและจัดให้มีที่จอดรถยนต์ในทางหลวงหรือในที่สาธารณะสำหรับยานยนตร์แต่ละชนิดหรือประเภท
                     (2) กำหนดระเบียบการจอดยานยนตร์ในที่จอดยานยนตร์

                     (3) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
                     (4) กำหนดระยะเวลาจอดยายนตร์ ระยะเวลาที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม วิธีการเก็บค่าธรรมเนียมและการยกเว้น
               ค่าธรรมเนียม

                  6   มาตรา 5 ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อปฏิบัติการภายในเขตอำนาจหน้าที่
               ของตน
                     (1) นายกเทศมนตรี และประธานกรรมการสุขาภิบาล

                     (2) พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการจราจรตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
                     (3) พนักงานเทศบาลซึ่งคณะเทศมนตรีแต่งตั้ง และพนักงานสุขาภิบาลซึ่งคณะกรรมการสุขาภิบาลแต่งตั้ง

                  7   มาตรา 6 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
   478   479   480   481   482   483   484   485   486   487   488