Page 53 - kpi15695
P. 53

คํ  า  พิ  พ  า  ก   ษ  า  น่  า  รู้
                          ค ดี ป ก ค ร อ ง ข อ ง อ ง ค์ ก ร ป ก ค ร อ ง ส่ ว น ท้ อ ง ถิ่ น

              เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดของสัญญาจ้างลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน

              ๒๕๔๒ โดยมีสาระสำคัญว่า หากปีใดทางเทศบาลไม่มีงบประมาณ
              เพียงพอที่จะชำระค่าก่อสร้างตามสัญญาได้ ทางบริษัทยินยอมให้
              เทศบาลขยายเวลาการชำระเงินค่าจ้างออกไปเป็นเวลา ๓ ปี

                 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นนี้ในคำพิพากษาของ

              ศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๗๐๗-๗๐๘/๒๕๕๔ ว่า กรณีที่สัญญารับจ้าง
              ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและซอยต่างๆ พร้อมท่อลอดถนน
              ระหว่างเทศบาลเมืองหนองคาย กับบริษัท วิศวการทาง จำกัด ได้สิ้นสุด
              ลงด้วยการบอกเลิกสัญญา ซึ่งการบอกเลิกสัญญาเป็นการแสดงเจตนา

              ที่ไม่อาจจะถอนการบอกเลิกสัญญาได้ตามมาตรา ๓๘๖ วรรคสอง
              แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่วิศวการทาง จำกัด กับ
              เทศบาลเมืองหนองคายทำบันทึกต่อท้ายสัญญาจ้างฉบับดังกล่าว
              จึงไม่มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างโดยหากเทศบาลเมือง

              หนองคายมีความประสงค์จะดำเนินการก่อสร้างต่อไป ก็มีหน้าที่ต้อง
              ดำเนินการสรรหาผู้รับเหมารายใหม่ตามขั้นตอนของระเบียบกระทรวง
              มหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
              พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่เทศบาลเมืองหนองคายมิได้ดำเนินการตามระเบียบ

              ดังกล่าว กลับเรียกให้บริษัท วิศวการทาง จำกัด มาทำบันทึกต่อท้าย
              สัญญาหลังจากบอกเลิกสัญญาแล้วเพื่อให้บริษัท วิศวการทาง จำกัด
              ได้ทำงานก่อสร้างต่อไป ทั้งที่เทศบาลเมืองหนองคายควรรู้อยู่แล้วว่า
              เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อระเบียบของทางราชการ ประกอบกับบริษัท

              วิศวการทาง จำกัด เป็นผู้ประกอบการที่มีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง
              ย่อมต้องรู้ว่าเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงด้วยการเลิกสัญญาแล้ว ไม่อาจทำ
              บันทึกต่อท้ายสัญญาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาได้อีก การที่บริษัท
              วิศวการทาง จำกัด กับเทศบาลเมืองหนองคายตกลงยินยอมทำบันทึก

              ต่อท้ายสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์แห่งสัญญา
              ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย อันมีผลให้บันทึกต่อท้ายสัญญาที่จัดทำ
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58