Page 111 - kpi15344
P. 111
การปกครองท้องถิ่น
ในประเทศนอร์เวย์
ในส่วนนี้ก็มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย คือ รัฐสภาของประเทศ
นอร์เวย์ ที่เรียกกันว่า “Storting” นั้นเป็นสภาเดี่ยวคือเป็นสภาผู้แทน
ราษฎรเท่านั้น แต่รัฐสภาของประเทศไทยนั้นเป็นสภาคู่ ประกอบด้วย
วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร แต่กระนั้นสภาผู้แทนราษฎรของไทยก็เป็น
เพียงสภาเดียวในสองสภาที่เป็นผู้กำหนดตัวนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล
อำนาจหน้าที่ทางนิติบัญญัติของประเทศนอร์เวย์จึงอาจดำเนินการได้
รวดเร็วกว่าเพราะกฎหมายจะผ่านก็เพียงสภาเดียว ในขณะที่กฎหมายของ
ไทยที่จะต้องไปเริ่มต้นพิจารณาเสียก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรแล้วก็จะต้องมา
ผ่านวุฒิสภา กระนั้นอำนาจสุดท้ายอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรนั่นเอง
แต่ถึงแม้ระบอบประชาธิปไตยของทั้ง 2 ประเทศจะเป็นระบบ
รัฐสภาด้วยกัน นายกรัฐมนตรีของประเทศนอร์เวย์ ก็ไม่มีอำนาจที่จะเสนอ
ให้ยุบสภาหรือมีการยุบสภาได้ อันต่างจากการเมืองของไทยที่ให้อำนาจ
10 นายกรัฐมนตรีเสนอยุบสภาได้และมีการยุบสภาได้ ด้วยเหตุนี้สภาผู้แทน
ราษฎรของประเทศนอร์เวย์ที่กำหนดให้มีวาระดำรงตำแหน่งได้ 4 ปี
โดยปกติทั่วไปจึงอยู่ได้ 4 ปี และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จึงกำหนดได้แน่นอนชัดเจนว่าจะมีการเลือกตั้งในปีใดและยังกำหนดเดือน
ได้ล่วงหน้า สำหรับรัฐบาลส่วนกลางนี้มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากสภาผู้แทน
ราษฎรที่คุมเสียงข้างมากและตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการของประมุข
กับมีคณะรัฐมนตรีดูแลบริหารงานของกระทรวง/ทบวง/กรม
ประการที่สอง ในลำดับต่อไปจากรัฐบาลที่ส่วนกลาง ประเทศ
นอร์เวย์ได้แบ่งการปกครองทั้งประเทศเป็นเขตเคาตี้ 18 เขต กับนครออสโล
ที่เป็นนครหลวงของประเทศ ถ้าจะเทียบกับประเทศไทย เขตเคาตี้นั้น
ก็คล้ายกับจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย เพียงแต่เขตเคาตี้ของประเทศ
นอร์เวย์จะเป็นจังหวัดที่ไม่มีหน่วยแยกย่อยเป็นอำเภอต่อไปอีกระดับหนึ่ง
ที่ศูนย์กลางการบริหารของเขตเคาตี้นี้จะมีที่ตั้งของสำนักงานผู้ว่าการเขต