Page 67 - kpi13397
P. 67

0    กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง



                             ส่วนของการออกคำสั่งทางปกครองด้วยวาจาไม่จำเป็นต้อง
                             บัญญัติไว้ เพราะคำสั่งทางปกครองที่ออกด้วยวาจานั้นไม่เป็น
                             กรณีที่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องให้เหตุผลประกอบ
                             คำสั่งทางปกครองอยู่แล้ว เพราะการให้เหตุผลประกอบคำสั่ง
                             ทางปกครองตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง วิ.ปฏิบัติ เป็นเรื่อง
                             ของคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่ง

                             ทางปกครองเป็นหนังสือเท่านั้น คำว่า “เป็นการออกคำสั่ง
                             ทางปกครองด้วยวาจา” จึงเป็นกรณีที่ผู้ร่างกฎหมายบัญญัติ
                             ถ้อยคำเกินมา ดังนั้นจึงต้องอธิบายความหมายของข้อยกเว้น
                             ในกรณีนี้ว่าการออกคำสั่งทางปกครองในกรณีเร่งด่วน
                             ประการหนึ่ง และการยืนยันคำสั่งทางปกครองที่ออกด้วย

                             วาจาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่งเป็นกรณีที่องค์กรเจ้าหน้าที่
                             ฝ่ายปกครองไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลประกอบการออกคำสั่ง
                             ทางปกครอง เว้นแต่ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองนั้น
                             ร้องขอ องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองย่อมต้องให้เหตุผลเป็น
                             ลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาอันสมควรในภายหลัง


                     ๒.๖ การจดแจ้งสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง


                          ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดเป็นคำสั่งทางปกครองที่อาจ
                 อุทธรณ์โต้แย้งต่อไปได้ องค์กรเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองจะต้องระบุ

                 กรณีที่อาจอุทธรณ์โต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือโต้แย้ง (ว่าจะต้องอุทธรณ์
                 โต้แย้งต่อองค์กรฝ่ายปกครองใด) ตลอดจนระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือ
                 โต้แย้งดังกล่าวให้บุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครองหรือผู้ตกอยู่ในบังคับของคำสั่ง
                                    ๓๕
                 ทางปกครองทราบด้วย  ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดกรณีที่อาจ
                 อุทธรณ์หรือโต้แย้ง องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีอำนาจพิจารณา


                    ๓๕   ดู พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๐
                 วรรคหนึ่ง
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72