Page 62 - kpi13397
P. 62
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
กฎหมายกำหนดให้องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องให้เหตุผลประกอบการ
ออกคำสั่งทางปกครองก็เพื่อให้บุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครองทราบว่าองค์กร
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอาศัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายใดเป็นฐานในการ
พิจารณาออกคำสั่งทางปกครอง และการออกคำสั่งทางปกครองดังกล่าวนั้น
ชอบด้วยเหตุผลหรือไม่ เมื่อบุคคลดังกล่าวได้ทราบถึงเหตุผลในการออกคำสั่ง
ทางปกครองแล้ว บุคคลนั้นจะได้สามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนได้อย่าง
๓๓
ถูกต้อง ดังนั้นหากเป็นกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดเป็นคำสั่งทางปกครองที่
กระทบสิทธิของคู่กรณีแล้ว องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องให้เหตุผล
ประกอบการออกคำสั่งทางปกครองไว้ในคำสั่งทางปกครองหรือเอกสารแนบ
ท้ายคำสั่งทางปกครอง หลักการดังกล่าวนี้ได้รับการย้ำไว้อย่างชัดเจนใน
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา ๓๗ วรรคสองที่
บัญญัติว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายอาจประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้คำสั่งทางปกครองกรณีหนึ่งกรณีใดต้องระบุ
เหตุผลไว้ในคำสั่งนั้นเองหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่งนั้นก็ได้” ซึ่งปัจจุบัน
นี้ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็น
หนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือในกรณีดังต่อไปนี้ต้อง
ระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่ง คือ
(๑) คำสั่งทางปกครองที่เป็นปฏิเสธการก่อตั้งสิทธิของคู่กรณี เช่น
การไม่รับคำขอ ไม่อนุญาต ไม่อนุมัติ ไม่รับรอง ไม่รับ
อุทธรณ์ หรือไม่รับจดทะเบียน
๓๓ ด้วยเหตุนี้ในการออกคำสั่งทางปกครอง องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองผู้ออก
คำสั่งฯย่อมไม่สามารถคัดลอกแต่เพียงตัวบทกฎหมายที่เป็นฐานในการออกคำสั่งทาง
ปกครองประการเดียวได้ แต่ต้องระบุข้อเท็จจริง การชั่งน้ำหนักข้อเท็จจริงตลอดจน
การใช้ดุลพินิจให้เห็นด้วย อนึ่งนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิของ
บุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครองแล้ว การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่าย
ปกครองต้องให้เหตุผลประกอบการออกคำสั่งทางปกครองยังช่วยให้กระบวนการ
ทำงานของฝ่ายปกครองเป็นไปอย่างโปร่งใส และช่วยในการควบคุมตรวจสอบการ
กระทำของฝ่ายปกครองตามลำดับสายการบังคับบัญชาอีกด้วย