Page 63 - kpi13397
P. 63
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
(๒) คำสั่งทางปกครองที่เป็นการเพิกถอนสิทธิ เช่น การเพิกถอน
ใบอนุญาต เพิกถอนการอนุมัติ เพิกถอนการรับรอง หรือ
เพิกถอนการรับจดทะเบียน
(๓) คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ
(๔) คำสั่งทางปกครองที่เป็นการวินิจฉัยอุทธรณ์
(๕) คำสั่งยกเลิกการสอบราคา การประกวดราคา หรือการ
ประมูลราคา ที่มีผู้ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการที่มีอำนาจ
หน้าที่ในการพิจารณาผลการดำเนินการดังกล่าวแล้ว
มีข้อควรพิจารณาประกอบว่าโครงสร้างบทบัญญัติมาตรา ๓๗
แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เป็นโครงสร้างที่อาจก่อให้
เกิดปัญหาในการตีความเกี่ยวกับหน้าที่ขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
ในการให้เหตุผลประกอบการออกคำสั่งทางปกครองได้ว่า หากไม่เป็นกรณี
ตามมาตรา ๓๗ วรรคสองประกอบกับประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และ
ไม่เข้าข้อยกเว้นอื่นใดแล้ว องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองไม่จำเป็นต้องระบุ
เหตุผลประกอบการออกคำสั่งทางปกครองไว้ในคำสั่งทางปกครองหรือ
เอกสารแนบท้ายคำสั่งทางปกครองนั้น กรณีนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่าแม้
นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายจะไม่ได้ประกาศกำหนดให้
คำสั่งทางปกครองกรณีหนึ่งกรณีใดต้องมีการระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งฯ นั้นเอง
หรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่งฯนั้น แต่หากคำสั่งทางปกครองนั้นเป็นคำสั่งที่
โดยสภาพแล้วเห็นได้ชัดว่าจำเป็นที่จะต้องระบุเหตุผลให้บุคคลผู้รับคำสั่งทาง
ปกครองทราบเพื่อการต่อสู้ปกป้องสิทธิของตน องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
จะอ้างว่าไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดให้ตนต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งทางปกครอง
หรือเอกสารแนบท้ายคำสั่งทางปกครองดังกล่าวไม่ได้ ดังนั้นประกาศสำนัก
นายกรัฐมนตรีเรื่องดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเครื่องกำหนดว่าเฉพาะคำสั่งทาง
ปกครองที่ระบุไว้เท่านั้นที่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องระบุเหตุผลไว้ใน