Page 59 - kpi13397
P. 59
2 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
๒๙
ปกครองอนุญาตตามคำขอนั้น หรือให้ถือว่าองค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
ปฏิเสธคำขอหรือยืนตามคำสั่งทางปกครองขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
๓๐
ชั้นต้น เป็นต้น
ปัญหาในกรณีของระยะเวลาออกคำสั่งทางปกครองมีอยู่ว่า ถ้า
กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครองไว้ แต่ไม่บัญญัติผล
ในทางกฎหมายที่จะเกิดขึ้นตามมา หากองค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทำ
คำสั่งทางปกครองไม่เสร็จภายในกำหนดระยะเวลา คำสั่งทางปกครองนั้นจะมี
ผลในทางกฎหมายอย่างไร กรณีที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาออกคำสั่งทาง
ปกครอง แต่ไม่กำหนดผลในทางกฎหมาย ย่อมจะต้องพิจารณาว่าระยะเวลา
ที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้นเป็นระยะเวลาที่กฎหมายมุ่งหมายให้มีสภาพบังคับ
๒๙ ดู พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๘ วรรค
หนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “การพิจารณาคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้มีอำนาจ
อนุญาตจะต้องดำเนินการพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาคำขอให้ผู้ยื่นคำขอทราบ
ภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับคำขออนุญาต และถ้ามิได้แจ้งผลการพิจารณาคำขอให้
ผู้ยื่นคำขอทราบภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้มีอำนาจอนุญาตมีคำสั่ง
อนุญาตตามคำขอและต้องออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอนั้น” อนึ่ง ผู้เขียนมีความ
เห็นเกี่ยวกับการบัญญัติกฎหมายดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติสงวนและคุมครอง
สัตว์ป่าฯ มาตรา ๘ วรรคหนึ่งว่าน่าจะไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการคุ้มครอง
ประโยชน์สาธารณะและเปิดโอกาสให้องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองไม่ต้องรับผิดชอบ
ในการตัดสินใจ เพราะเมื่อถือว่าการพิจารณาคำขอไม่เสร็จในระยะเวลาที่กฎหมาย
กำหนดมีผลเป็นการอนุญาต ทั้งๆที่ความจริงไม่ปรากฏการตัดสินใจขององค์กร
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองผู้ทรงอำนาจเสียแล้ว กรณีย่อมมีผลเป็นการตัดการตรวจสอบ
ตามลำดับสายการบังคับบัญชา และอาจมีผลก่อให้เกิดการกระทำที่ไม่สุจริตใน
กระบวนพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองได้ง่ายขึ้นด้วย
๓๐ ดู พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.๒๕๒๘ มาตรา ๖๗ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติ
ว่า “เมื่อนายกได้รับสำนวนคดีมรรยาททนายความตามวรรคหนึ่งแล้ว หากคณะ
กรรมการมิได้วินิจฉัยและแจ้งคำวินิจฉัยมายังประธานกรรมการมรรยาททนายความ
ภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับสำนวน ให้ถือว่าคณะกรรมการมีคำสั่งยืนตามคำสั่ง
ของคณะกรรมการมรรยาททนายความ เว้นแต่กรณีที่มีการสอบสวนเพิ่มเติม ระยะ
เวลาหกสิบวันให้นับตั้งแต่วันที่ได้รับสำนวนการสอบสวนเพิ่มเติม”