Page 55 - kpi13397
P. 55

กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง


                 ๒. เงื่อนไขทางแบบพิธีแห่งความชอบด้วย

                 กฎหมายของคำสั่งทางปกครอง




                     ๒.๑ อำนาจหน้าที่ขององค์กรฝ่ายปกครองและองค์กร
                 เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครอง


                          ๒.๑.๑ ข้อพิจารณาทั่วไป


                          พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
                 มาตรา ๑๒ บัญญัติว่า “คำสั่งทางปกครองจะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมี
                 อำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น” และโดยที่ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า “บุคคล
                 คณะบุคคล หรือนิติบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทาง
                 ปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะ
                 เป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่

                       ๒๗
                 ก็ตาม”  ในการพิจารณาอำนาจหน้าที่ขององค์กรฝ่ายปกครองและองค์กร
                 เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองให้เป็นระบบ จึงต้องพิจารณาเป็นลำดับไปดังนี้

                          ก)  อำนาจหน้าที่ขององค์กรฝ่ายปกครอง : พิจารณาในแง่ของ

                 เรื่องที่มีอำนาจ

                              คำสั่งทางปกครองต้องออกโดยองค์กรฝ่ายปกครองซึ่งทรง
                 อำนาจในเรื่องนั้น โดยเหตุที่ในระบบกฎหมายไทย การกำหนดองค์กรฝ่าย

                 ปกครองที่มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองมักจะไม่ได้กำหนดโดยคำนึงถึง
                 “หน่วยงาน” เหมือนในต่างประเทศ แต่จะกำหนดโดยคำนึงถึงตำแหน่ง
                 การพิจารณาอำนาจหน้าที่ขององค์กรที่มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองจึงมัก
                 จะเป็นการพิจารณาลงไปที่ “ตำแหน่ง” ขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
                 เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามการทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรฝ่ายปกครองเป็น


                    ๒๗   ดู พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60