Page 56 - kpi13397
P. 56
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
เรื่องสำคัญ เช่น ในเบื้องต้นต้องพิจารณาให้ชัดเจนเสียก่อนว่าเรื่องที่จะออก
คำสั่งทางปกครองนั้นเป็นอำนาจขององค์กรฝ่ายปกครองส่วนกลาง
(กระทรวง ทบวง กรม) หรือเป็นอำนาจขององค์การปกครองตนเองส่วน
ท้องถิ่น (เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา) หรือเป็นอำนาจขององค์การวิชาชีพ (เช่น
สภาทนายความ ฯลฯ) องค์กรฝ่ายปกครองส่วนกลางจะออกคำสั่งทาง
ปกครองซึ่งตามกฎหมายเป็นอำนาจขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
องค์การวิชาชีพไม่ได้
ข) อำนาจขององค์กรฝ่ายปกครอง : พิจารณาในแง่พื้นที่ที่มี
อำนาจ
นอกจากการพิจารณาในแง่ของเรื่องที่องค์กรฝ่ายปกครองมี
อำนาจแล้ว องค์กรฝ่ายปกครองจะต้องใช้อำนาจภายในพื้นที่ที่ตนมีอำนาจ
ด้วย เช่น เทศบาลจะออกคำสั่งทางปกครองให้มีผลบังคับได้เฉพาะในเขต
พื้นที่ของตนเท่านั้น จะก้าวล่วงไปออกคำสั่งทางปกครองให้มีผลบังคับนอก
เขตพื้นที่ของตนไม่ได้
ค) อำนาจขององค์กรฝ่ายปกครอง : พิจารณาในแง่ของ
ตำแหน่งขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีอำนาจ
เมื่อทราบว่าองค์กรฝ่ายปกครองใดมีอำนาจออกคำสั่งทาง
ปกครองในเรื่องใดและในเขตพื้นที่ใดแล้ว ประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป
ก็คือองค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตำแหน่งใดเป็นองค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่าย
ปกครองที่มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครอง ในหลายกรณีระบบกฎหมายไทย
มักจะระบุตำแหน่งขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีอำนาจออกคำสั่งทาง
ปกครองไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติสถาน
บริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ บัญญัติให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้มีอำนาจ
ออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขต