Page 84 - kpi13391
P. 84

การปกครองท้องถิ่น
                                                            ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์



                                           80
                 ในสามของงบประมาณทั้งหมด  การที่องค์กรทั้ง 3 ระดับยอมให้มีการ
                 แบ่งปันรายได้ เพื่อไปเป็นรายจ่ายขององค์กรแต่ละระดับทั้งหมดใน
                 อัตราส่วนที่เกือบจะเท่ากันเช่นนี้ย่อมแสดงว่าองค์กรทั้ง 3 ระดับน่าจะมี
                 ความสัมพันธ์กันโดยรวมที่ค่อนข้างดี นั่นก็คือเทศบาลต้องร่วมมือกับรัฐ

                 และรัฐบาลสหพันธรัฐ และรัฐเองก็ต้องร่วมมือกับสหพันธรัฐ

                      อีกเรื่องคืองานป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นงานระดับบนสุดของประเทศ

                 ที่องค์กรระดับบนสุดเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ในกรณีประเทศสวิสเซอร์แลนด์
                 สหพันธรัฐได้ให้เทศบาลที่เป็นองค์กรรัฐที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ได้เข้ามามี
                 ส่วนร่วมช่วยดำเนินการด้วย หากดูจากงบประมาณภารกิจด้านกลาโหม
                 พบว่างบประมาณประมาณร้อยละ 10 ได้ให้เทศบาลช่วยจัดให้มีอาสารักษา

                 ดินแดน (Civil Defense) ทำหน้าที่ช่วยป้องกันประเทศด้วย งบประมาณ
                 ด้านการป้องกันประเทศที่เหลืออีกร้อยละ 90 เป็นของกระทรวงกลาโหม
                 ของสหพันธรัฐ เพื่อใช้ในด้านกิจการทหารทั้งหลาย จะเห็นได้ว่างานอาสา  77
                 รักษาดินแดนนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพสวิสเซอร์แลนด์โดยตรง

                 หากแต่เป็นงานสนับสนุนดำเนินการด้านพลเรือน และเป็นงานที่ฝ่าย
                 ปกครองท้องถิ่นคือเทศบาลได้เข้ามามีบทบาทอย่างแท้จริง

                      สำหรับรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลสหพันธรัฐนั้น รัฐธรรมนูญได้

                 กำหนดเอาไว้กว้างๆ อย่างน่าสังเกตก็คือ ได้ระบุว่าภารกิจใดที่รัฐไม่ได้
                 กำหนดให้เป็นของสหพันธรัฐ รัฐก็มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินภารกิจนั้น
                 ต่อไป การดำเนินกิจการของรัฐบาลสหพันธรัฐก็ต้องคำนึงถึงเทศบาลต่างๆ

                 ด้วย

                      ถ้าพิจารณาตามกฎหมายแล้วความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทั้ง 3
                 ระดับนี้ รัฐคือตัวกลางที่สำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล


                    80   Nicolas Schmitt, “The Swiss Municipal System: Heterogeneity,
                 Complexity, Topicality,” presented paper, June 8,2011, Fribourg, p. 3.
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89