Page 13 - kpi13391
P. 13
การปกครองท้องถิ่น
ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
จึงเป็นวันชาติของสวิสเซอร์แลนด์ที่มีงานเฉลิมฉลองความเป็นอิสระของ
ประเทศ และจำนวนรัฐที่เข้ามารวมตัวกันก็มีมากขึ้นในระยะเวลาต่อมา
การเป็นสหพันธรัฐนั้นรัฐบาลกลางมีอำนาจไม่มาก รัฐบาลกลางต้อง
ปฏิบัติตามเจตจำนงของรัฐต่างๆ ที่เข้ามารวมกัน และต่อมาจึงได้พัฒนา
จากการรวมตัวกันแบบหลวมๆ มาเป็นการรวมตัวกันโดยให้รัฐบาลกลาง
มีอำนาจมากขึ้นและมีรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1848 ที่แสดงลักษณะของประเทศ
แบบสหพันธรัฐ (Federation) แต่ชื่อของประเทศก็ยังเป็นสหพันธรัฐ
สวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งลักษณะของสหพันธรัฐในอดีตนี้ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้
ประชาธิปไตยในประเทศสวิสเซอร์แลนด์พัฒนาอย่างที่ปรากฏอยู่ และรัฐ
ของสวิสเซอร์แลนด์ก็ยังมีอำนาจอิสระของตนอยู่หลายประการจนทุกวันนี้
จนกระทั่งในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
จึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่เปลี่ยนมาเรียกประเทศตัวเอง
6
ให้ตรงกับความเป็นจริงว่า “สหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์” (Swiss
Federation) ที่มีรัฐหรือกังตอง จำนวน 26 กังตองรวมเข้าด้วยกัน 3
ในระดับรัฐบาลกลาง การเมืองแบบประชาธิปไตยของ
สวิสเซอร์แลนด์นั้น กำหนดรูปแบบของรัฐบาลไว้ในระบบรัฐสภา คือสภา
เป็นผู้เลือกรัฐบาลของสหพันธรัฐ และประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกสภา
ของสหพันธรัฐ โดยสภาของสหพันธรัฐเป็นสภาคู่ ประกอบด้วยสภาแห่ง
ชาติ (National Council) และสภาแห่งรัฐ (Council of States)
มาตรา 149 ของรัฐธรรมนูญสวิสเซอร์แลนด์ฉบับปัจจุบัน กำหนด
ให้สภาแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คนมาจากการเลือกตั้ง
3 Hanspeter Kriesi and Alexander H. Trechsel, The Politics of
Switzerland : Continuity and Change in a Consensus Democracy
(Cambridge : Cambridge University Press, 2008), p. 5.