Page 14 - kpi12821
P. 14
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
1.3.2 การขาดมาตรการทางกฎหมายที่จะทำให้การยุบพรรคการเมือง
เกิดสภาพบังคับที่แท้จริง
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสังคมการเมืองไทยในระยะสาม-สี่ปีมานี้
ชี้ชัดแล้วว่า การยุบพรรคการเมืองมิได้ส่งผลในทางปฏิบัติสมดังเจตนาของ “ผู้มีอำนาจ”
ที่ต้องการสลายขั้วพรรคการเมืองเดิมที่เป็นปฏิปักษ์เลย หัวหน้าเงาของพรรคการเมือง
ยังคงสั่งการ ตัดสินใจว่าพรรคจะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองใดหรือไม่ กำหนด
ตัวบุคคลที่จะเป็นรัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรค และตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ของพรรค
แม้ว่าผู้วิจัยจะไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคการเมืองแทบทุกคดีที่ผ่านมา แต่ก็ตระหนักว่า
สภาพข้อเท็จจริงเช่นนี้สะท้อนช่องโหว่ของกฎหมายไทยที่มิอาจทำให้การยุบพรรค
การเมืองเกิดสภาพบังคับที่แท้จริง
2. ข้อเสนอแนะเบื้องต้น
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเบื้องต้น เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 2
(1 )
2.1 มาตรการเฉพาะหน้า: ตีความและใช้บังคับกฎหมายให้
สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ-หลักนิติธรรมและหลัก
กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ในเบื้องต้น การใช้และการตีความกฎหมายของนายทะเบียน กกต. และ
ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเคารพหลักเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรม
ทางการเมือง สิทธิในการฟ้องร้องคดีต่อศาล สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยุบพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรคสอง
2.2 มาตรการระยะยาว: แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2550)
(1) ปรับปรุงความในมาตรา 68 วรรคสี่ โดยกำหนดให้กรรมการบริหาร
พรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมืองผู้ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการยุบ
2 อาจมีการปรับปรุงหลังจากการสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders)
ทั้งหลาย และนักวิชาการทั้งทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อีกหลายท่าน ซึ่งจะดำเนินการในโครงการวิจัยถัดไป